8 JULY 2013

4th.


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา08:30-12:20น. กลุ่มเรียน101 เลขที่16


เนื้อหาสาระความรู้

1. ทำสมุดเล่มเล็กหนึ่งเล่ม วาดดภาพที่ต่อนื่องกันแต่ละหน้าและเมื่อเปิดดูทีละหน้าก็จะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว

                ฟลิ๊บบุ๊ค (Flipbook) หรือเรียกง่ายๆว่า สมุดดีด คือการวาดภาพเคลื่อนไหวอย่างง่าย ลงในกระดาษ   แผ่นเล็กๆ แล้วนำภาพที่วาดทั้งหมดมาเย็บต่อกันเป็นเล่ม การสร้าง Flipbook นี้เป็นการศึกษาทดลองการสร้างภาพเคลื่อนไหวในขั้นพื้นฐานก่อนที่จะนำไปประยุกต์ เช่น การศึกษาการกระโดดของคน ,การเตะ ,การต่อย เป็นต้น เลือกทำเพียงช่วงหนึ่งของกิจกรรมนั้นๆ การทำFlipbook คือการนำหลักทฤษฎีภาพติดตามาใช้ เมื่อเราเปิดภาพด้วยความเร็ว(ดีดสมุด) จะทำให้เราเห็นว่า ภาพนิ่งทุกภาพที่วาดนั้น เกิดการเคลื่อนไหวได้ กระดาษที่ใช้ทำ Flip Book ควรเป็นกระดาษปอนด์ที่มีความหนาพอควร เพื่อความคงทนในการเก็บรักษา

ทฤษฎีว่าด้วยการเห็นภาพติดตา (Persistence of Vision)  ซึ่งมีหลักการดังนี้
หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือทฤษฎีการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) โดยนักทฤษฎีและแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ Dr. John Ayrton Paris ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายถึงการมองเห็นภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ไว้ว่า ธรรมชาติของสายตามนุษย์ เมื่อมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง หลังจากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังค้างภาพนั้นไว้ที่เรติน่าในชั่วขณะหนึ่ง ประมาณ 1/15 วินาที และหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อม โยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฏขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้
             อย่างไรก็ตาม มีเคล็ดลับประการหนึ่ง ก็คือ ก่อนที่จะเปลี่ยนภาพใหม่จะต้องมีอะไรมาบังตาเราแว่บหนึ่ง แล้วค่อยเปิดให้เห็นภาพใหม่มาแทนที่ตำแหน่งเดิม โดยอุปกรณ์ที่บังตาคือซัตเตอร์ (Shutter) และระยะเวลาที่ซัตเตอร์บังตาจะต้องน้อยกว่าเวลาที่ฉายภาพค้างไว้ให้ดู มิฉะนั้นจะมองเห็นภาพกระพริบไป ดังนั้น เมื่อเอาภาพนิ่งที่ถ่ายมาอย่างต่อเนื่องหลาย ๆ ภาพมาเรียงต่อกัน แล้วฉายภาพนั้นในเวลาสั้น  ๆ ภาพนิ่งเหล่านั้นจะดูเหมือนว่าเคลื่อนไหว หลักการนี้จึงถูกนำมาใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) และภาพยนตร์ในระยะเวลาต่อมา


2. อาจารย์สาธิตของเล่นวิทยาศาสตร์ให้ดูคือ...เจาะรูใต้ขวดน้ำ 1 รู เอาน้ำใส่ในขวดและไม่ปิดฝาขวด จะพบว่าน้ำไหลรั่วออกมาจากรูขวดที่เจาะไว้ เพราะน้ำถูกแรงดันของอากาศดันเข้ามาอยู่แทนที่ แต่เมื่อเราใช้ฝาปิดขวดน้ำใบเดิม จะพบว่า น้ำไหลรั่วออกมาจากรู เป็นเพราะไม่มีอากาศเข้าไปดันน้ำและไปอยู่แทนที่ น้ำจึงไม่ไหลออกมาจากขวดน้ำนั่นเอง      
**การทดลองนี้ทำให้เราเห็นว่าอากาศก็มีตัวตนและต้องการที่อยู่**

การทดลองอากาศมีตัวตน

3. เพื่อนๆแต่ละคนออกไปนำเสนอ "ของเล่นวิทยาศาสตร์ "




1 July 2013

3rd time.


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา08:30-12:20น. กลุ่มเรียน101 เลขที่16


เนื้อหาสาระความรู้
     สรุปเรื่องของวิทยาศาสตร์เป็นผังความคิดในรูแบบของ mind mapping

วิทยาศาสตร์

ความหมายของวิทยาศาสตร์


ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
พัฒนาการด้านสติปัญญา
การเรียนรู้
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์



24 June 2013

2nd time.


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา08:30-12:20น. กลุ่มเรียน101 เลขที่16


เนื้อหาสาระความรู้
     
     วิทยาศาสตร์อนุบาล มีจุดมุ่งหมายเพื่อสืบค้น การสอนไปพร้อมๆกับการให้เด็กได้เข้าใจกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบความรู้ที่ถูกต้องโดยยึดเด็กเป็นกลาง ให้มีปฏิสัมพันธ์กับโลกรอบตัวของเด็ก สร้างประสบการณ์การเรียนรู้กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

     "ความหมายของวิทยาศาสตร์

     พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน วิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการสังเกตค้นคว้าจากธรรมชาติ แล้วจัดเข้าเป็นระเบียบด้วยเหตุผลและหลักฐาน
     Dr.Arther A.Carin วิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้ที่ผ่านการทดสอบ และสะสมไว้อย่างมีระเบียบ รวมทั้งกระบวนการที่ใช้หาความรู้นั้นด้วย
     สรุป วิทยาศาสตร์หมายถึง การศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติโดยทั่วไป ประกอบด้วยความรู้ กระบวนการอย่างมีระบบ เพื่อปรับปรุงชีวิต
     
     "ความหมายของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์"
    

      ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติ ฝึกฝน กระบวนการทางความคิดค้นคว้าความรู้ แก้ปํยหาจนเกิดความชำนาญ สมาคมการศึกษาวิทยาศาสตร์ขั้นสูงของสหรัฐอเมริกา (American Association for the Advancement of science หรือ AAAS) แบ่งทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็น13กระบวนการ ซึ่งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทตโนโลยีไทย รวบรวมให้เหมาะสมเป็ย13กระบวนการ 2ระดับคือ
          1. กระบวนการขั้นพื้นฐาน หรือกระบวนการขั้นต้น   ได้แก่
               1.1 การสังเกต
               1.2 การวัด
               1.3 การจำแนกประเภท
               1.4 การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
               1.5 การคำนวน
               1.6 การจัดกระทำข้อมูล
               1.7 การลงความเห็น
               1.8 การพยากรณ์
          2. กระบวนการขั้นผสม
               2.1 การตั้งสมมติฐาน
               2.2 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
               2.3 การกำหนดและควบคุมตัวแปล
               2.4 การทดลอง
               2.5 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
    
      "พัฒนาการทางสติปัญญา"
 -ความเจริญทางด้านความสามารถในการคิด
 -พัฒนาการจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
 -เริ่มตั้งแต่แรกเกิดผลของการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
 -การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิตเพื่อให้เกิดความสมดุล
 -การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะปรัปรุงเปลี่ยนแปลงตลอด เพื่อเกิดความสมดุลระหว่างบุคลลกับสิ่งแวดล้อม
     
     "กระบวนการปฏิสัมพันธ์"   ประกอบด้วย2กระบวนการ
          1.กระบวนการดูดซึม (Absorption) ซาบซึมดูดซึมประสบการณ์ใหม่เข้าในโครงสร้างสติปัญญา
          2.กระบวนการปรับโครงสร้าง (Restructuring) เปลี่ยนแปลงความรู้เดิมให้เข้ากับความรู้ใหม่ และสิ่งแวดล้อม

     "การปรับตัวเข้าสู่ภาวะระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม"
      การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์ใหม่
      -การปรับโครงสร้างความคิดเดิมให้สอดคล้องกับประสบการณ์ใหม่
      -การปรับพฤติกรรมให้เกิดความสมดุล และเกิดเป็นโครงสร้างทางสติปัญญาขึ้น
ดังนั้น...สติปัญญาจึงเกิดจากการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและพฤติกรรม จะเกิดสู่ภาวะสมดุล


    


 กองบัญญชาการของร่างกาย --> ความคิด ความรู้สึก
     -การรับรู้เกิดขึ้นจากเส้นใยของสมองที่เชื่อมกัน
     -การทำให้เด็กเกิดความคิด เพื่อให้เกิดเส้นใยประสาทที่เชื่อมต่อกันในเซลล์ต่างๆ
อุปสรรค์การเรียนรู้
ไม่ได้เรียนรู้(ใยประสาทและจุดเชื่อมโยงหาย) --> เรียนรู้ผิด(ใยประสาทขอวงจรการรับรู้ผิดหนาตัวขึ้น)



วัยทารก 0-2 ปี
ปฐมวัย 3-5 ปี
ปัญญาภายนอก
(ความรู้ความสามารถ)
การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ประสบการรับรู้พื้นฐาน
การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ภาษา จินตนาการ
ปัญญาภายใน
(คุณลักษณะ)
ความผูกพัน และความไว้วางใจ
การควบคุมอารมณ์ การรู้ถูก รู้ผิด
    
      "ความสำคัญของวิทยาศาสตร์"
     วิทยาศาสตร์สำคัญกับโลกปัจจุบัน เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตทุกคนในการดำรงชีวิตปัจจุบัน ทั้งอาชีพตลอดจนการอำนวยความสะดวก สร้างสรรค์งานใหม่ พัฒนาเทคโนโลยี และเทคโนโลยีช่วยให้เกิดการค้นคว้าความรู้อย่างไม่หยุดยั้ง
     วิทยาศาสตร์พัฒนาวิธีคิด ความคิด เหตุผล รับรู้ วิเคราะห์ ทักษะในการค้นคว้าความรู้ แก้ปัญหาอย่างมีระบบ รู้และเข้าใจโลกธรรมชาติ พัฒนาคุณภาพชีวิต ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติให้สมดุล 
     
      "แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์"
     Graig ให้แนวคิดพื้นฐาน 5 ประการเรียกว่า Graig Basic Concept 
     1. การเปลี่ยนแปลง
     2. ความแตกต่าง
     3. การปรับตัว
     4. การพึ่งพาอาศัย
     5. ความสมดุล


     "กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต"          
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การค้นคว้าหาความรู้อย่างมีระบบ ผลผลิต คือ สิ่งที่ปรากฏขึ้นภายหลังจากที่ได้การทดลองที่ค้นคว้าด้วยวิธีการทดลองทางวิทยาศาสตร์มาแล้ว กิจกรรมวิทยาศาสตร์นั้นกระบวนการและผลผลิตจะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอยู่เสมอ เพราะเมื่อครูจัดเตรียมให้เด็กทำกิจกรรม ครูก็จะต้องสังเกตดูวิธีการทำงานของเด็ก ( กระบวนการ ) เมื่อเด็กทำเสร็จแล้ว ครูต้องดูผลงานของเด็ก ( ผลผลิต )



กิจกรรม
     แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่มในหัวเรื่งวิทยาศาสตร์


     นำเสนอความแตกต่างทางความคิดเห็น ระหว่างเราและกลุ่มเพื่อน


ดูวีดีโอความรู้เรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ


17 June 2013



1st time.

Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา08:30-12:20น. กลุ่มเรียน101 เลขที่16




เนื้อหาสาระความรู้
    
     อาจารย์ปฐมนิเทศน์เกี่ยวกับสาระวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าเนื้อหาความรู้เกียวกับเรื่องใดบ้าง...

หากนึกถึง"วิทยาศาสตร์"จะนึกถึงคำว่า ทฤษฎี / การทดลอง / สิ่งประดิษฐ์ / ธรรมชาติ / สิ่งแวดล้อม / ความรู้ / เนื้อหา / กระบวนการ
หากนึกถึง"เด็กปฐมวัย"จะนึกถึงคำว่า พัฒนาการ / การเจริญเติบโต / การเปลี่ยนแปลง / ช่วงอายุตามลำดับขั้นตอน / เด็กทำอะไรได้บ้าง

พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ตามช่วงอายุอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าเด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง

พัฒนาการทางสติปัญญา ยกตัวอย่าง:แมว เด็กไปจับแมวตุ๊กตาแล้วไปเจอแมวจริง โดนแมวจริงกัด จึง
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
สาระการเรียนรู้นำมาจากหลักสูตร

ความรู้ที่ได้รับ
     
     เรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่เราควรนำไปสอนเด็ก ตามหลักพัฒนาการและตามศักยภาพของเด็กที่จะสามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ในแต่ละช่วงอายุ ว่าช่วงอายุใดควรเรียนรู้เรื่องใดและมากน้อยเพียงไร และเราควรจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ ผ่านการทดลองลงมือทำด้วยตนเอง

ความรู้เพิ่มเติม
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

หมายถึงคุณลักษณะ ที่มีความจำเป็นต้องมีในตัวของผู้ที่จะต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา หรือปฏิบัติงานต่าง ๆ ซึ่งมี 13 ทักษะดังนี้
1.ทักษะการสังเกต คือความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส 5 ชนิด คือ
ประสาทตา ประสาทหู ประสาทจมูก ประสาทลิ้น ประสาทผิวกาย
2.ทักษะการวัด คือความสามารถในการเลือกและใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลข ในการวัดสิ่งที่จะต้องพิจารณาคือ
 จะวัดอะไร จะใช้เครื่องมืออะไรวัด เหตุใดจึงใช้เครื่องมือนั้น  จะวัดอย่างไร
3.ทักษะการจำแนก คือการจำแนกหรือการจัดจำพวกวัตถุหรือเหตุการณ์ ออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยมีเกณฑ์ลักษณะที่เหมือนกัน แตกต่างกัน หรือสัมพันธ์กัน
4.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา เช่นรูป 2 มิติรูปทรง 3 มิติ
5.ทักษะการคำนวณ มีดังต่อไปนี้
นับจำนวน ใช้ตัวเลขแสดงจำนวนที่นับ บอกวิธีคำนวณ คิดคำนวณ แสดงวิธีคิดคำนวณ บอกวิธีการหาค่าเฉลี่ยหาค่าเฉลี่ย แสดงวิธีหาค่าเฉลี่ย
6.ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
 ตาราง แผนภูมิ วงจร กราฟ สมการ บรรยาย
7.ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
อธิบายหรือสรุป เกินข้อมูลที่ได้จากการสังเกต เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป
8.ทักษะการพยากรณ์
9.ทักษะการตั้งสมมุติฐาน
10.ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
11.ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
12.ทักษะการทดลอง

13.ทักษะการตีความหมายถึงข้อมูลและลงข้อสรุป