24 June 2013

2nd time.


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา08:30-12:20น. กลุ่มเรียน101 เลขที่16


เนื้อหาสาระความรู้
     
     วิทยาศาสตร์อนุบาล มีจุดมุ่งหมายเพื่อสืบค้น การสอนไปพร้อมๆกับการให้เด็กได้เข้าใจกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบความรู้ที่ถูกต้องโดยยึดเด็กเป็นกลาง ให้มีปฏิสัมพันธ์กับโลกรอบตัวของเด็ก สร้างประสบการณ์การเรียนรู้กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

     "ความหมายของวิทยาศาสตร์

     พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน วิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการสังเกตค้นคว้าจากธรรมชาติ แล้วจัดเข้าเป็นระเบียบด้วยเหตุผลและหลักฐาน
     Dr.Arther A.Carin วิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้ที่ผ่านการทดสอบ และสะสมไว้อย่างมีระเบียบ รวมทั้งกระบวนการที่ใช้หาความรู้นั้นด้วย
     สรุป วิทยาศาสตร์หมายถึง การศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติโดยทั่วไป ประกอบด้วยความรู้ กระบวนการอย่างมีระบบ เพื่อปรับปรุงชีวิต
     
     "ความหมายของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์"
    

      ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติ ฝึกฝน กระบวนการทางความคิดค้นคว้าความรู้ แก้ปํยหาจนเกิดความชำนาญ สมาคมการศึกษาวิทยาศาสตร์ขั้นสูงของสหรัฐอเมริกา (American Association for the Advancement of science หรือ AAAS) แบ่งทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็น13กระบวนการ ซึ่งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทตโนโลยีไทย รวบรวมให้เหมาะสมเป็ย13กระบวนการ 2ระดับคือ
          1. กระบวนการขั้นพื้นฐาน หรือกระบวนการขั้นต้น   ได้แก่
               1.1 การสังเกต
               1.2 การวัด
               1.3 การจำแนกประเภท
               1.4 การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
               1.5 การคำนวน
               1.6 การจัดกระทำข้อมูล
               1.7 การลงความเห็น
               1.8 การพยากรณ์
          2. กระบวนการขั้นผสม
               2.1 การตั้งสมมติฐาน
               2.2 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
               2.3 การกำหนดและควบคุมตัวแปล
               2.4 การทดลอง
               2.5 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
    
      "พัฒนาการทางสติปัญญา"
 -ความเจริญทางด้านความสามารถในการคิด
 -พัฒนาการจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
 -เริ่มตั้งแต่แรกเกิดผลของการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
 -การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิตเพื่อให้เกิดความสมดุล
 -การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะปรัปรุงเปลี่ยนแปลงตลอด เพื่อเกิดความสมดุลระหว่างบุคลลกับสิ่งแวดล้อม
     
     "กระบวนการปฏิสัมพันธ์"   ประกอบด้วย2กระบวนการ
          1.กระบวนการดูดซึม (Absorption) ซาบซึมดูดซึมประสบการณ์ใหม่เข้าในโครงสร้างสติปัญญา
          2.กระบวนการปรับโครงสร้าง (Restructuring) เปลี่ยนแปลงความรู้เดิมให้เข้ากับความรู้ใหม่ และสิ่งแวดล้อม

     "การปรับตัวเข้าสู่ภาวะระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม"
      การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์ใหม่
      -การปรับโครงสร้างความคิดเดิมให้สอดคล้องกับประสบการณ์ใหม่
      -การปรับพฤติกรรมให้เกิดความสมดุล และเกิดเป็นโครงสร้างทางสติปัญญาขึ้น
ดังนั้น...สติปัญญาจึงเกิดจากการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและพฤติกรรม จะเกิดสู่ภาวะสมดุล


    


 กองบัญญชาการของร่างกาย --> ความคิด ความรู้สึก
     -การรับรู้เกิดขึ้นจากเส้นใยของสมองที่เชื่อมกัน
     -การทำให้เด็กเกิดความคิด เพื่อให้เกิดเส้นใยประสาทที่เชื่อมต่อกันในเซลล์ต่างๆ
อุปสรรค์การเรียนรู้
ไม่ได้เรียนรู้(ใยประสาทและจุดเชื่อมโยงหาย) --> เรียนรู้ผิด(ใยประสาทขอวงจรการรับรู้ผิดหนาตัวขึ้น)



วัยทารก 0-2 ปี
ปฐมวัย 3-5 ปี
ปัญญาภายนอก
(ความรู้ความสามารถ)
การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ประสบการรับรู้พื้นฐาน
การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ภาษา จินตนาการ
ปัญญาภายใน
(คุณลักษณะ)
ความผูกพัน และความไว้วางใจ
การควบคุมอารมณ์ การรู้ถูก รู้ผิด
    
      "ความสำคัญของวิทยาศาสตร์"
     วิทยาศาสตร์สำคัญกับโลกปัจจุบัน เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตทุกคนในการดำรงชีวิตปัจจุบัน ทั้งอาชีพตลอดจนการอำนวยความสะดวก สร้างสรรค์งานใหม่ พัฒนาเทคโนโลยี และเทคโนโลยีช่วยให้เกิดการค้นคว้าความรู้อย่างไม่หยุดยั้ง
     วิทยาศาสตร์พัฒนาวิธีคิด ความคิด เหตุผล รับรู้ วิเคราะห์ ทักษะในการค้นคว้าความรู้ แก้ปัญหาอย่างมีระบบ รู้และเข้าใจโลกธรรมชาติ พัฒนาคุณภาพชีวิต ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติให้สมดุล 
     
      "แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์"
     Graig ให้แนวคิดพื้นฐาน 5 ประการเรียกว่า Graig Basic Concept 
     1. การเปลี่ยนแปลง
     2. ความแตกต่าง
     3. การปรับตัว
     4. การพึ่งพาอาศัย
     5. ความสมดุล


     "กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต"          
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การค้นคว้าหาความรู้อย่างมีระบบ ผลผลิต คือ สิ่งที่ปรากฏขึ้นภายหลังจากที่ได้การทดลองที่ค้นคว้าด้วยวิธีการทดลองทางวิทยาศาสตร์มาแล้ว กิจกรรมวิทยาศาสตร์นั้นกระบวนการและผลผลิตจะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอยู่เสมอ เพราะเมื่อครูจัดเตรียมให้เด็กทำกิจกรรม ครูก็จะต้องสังเกตดูวิธีการทำงานของเด็ก ( กระบวนการ ) เมื่อเด็กทำเสร็จแล้ว ครูต้องดูผลงานของเด็ก ( ผลผลิต )



กิจกรรม
     แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่มในหัวเรื่งวิทยาศาสตร์


     นำเสนอความแตกต่างทางความคิดเห็น ระหว่างเราและกลุ่มเพื่อน


ดูวีดีโอความรู้เรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ