สรุปองค์ความรู้จากงานวิจัย

วิจัยเรื่อง : ผลการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย
ปริญญานิพนธ์ ของ ทิติลดา พิไลกุล

ความมุ่งหมายของการวิจัย :
1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกัน
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย

ความสำคัญของการวิจัย
ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย เพื่อนำไปเป็นแนวทางส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมแก่เด็กปฐมวัยจากการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของเด็กปฐมวัย

ขอบเขตของการวิจัย
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย ชาย หญิง อายุ 5 – 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตสวนหลวง สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 78 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ พฤติกรรมทางสังคม

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. เด็กปฐมวัย หมายถึง นักเรียนชาย - หญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 20 คน โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตสวนหลวง สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
2. การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ผสมผสานวิธีการสอนการเรียนการประเมินและการแนะแนวให้ควบคู่กลมกลืนเป็นกระบวนการเดียวกันในชั้นเรียน โดยเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ด้วยการให้เด็กเรียนรู้วิธีการวิจัย ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจ ได้ลงมือศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้ ความจริงตามความสนใจอยากรู้อยากเห็นและความถนัดของตน การเรียนรู้เด็กจะได้สร้างองค์ความรู้ พร้อมกับแก้ปัญหาและค้นพบสิ่งใหม่ๆ ซึ่งมีการวางแผนล่วงหน้าว่าจะศึกษาค้นคว้าอย่างไร มากน้อยเพียงใด จากแหล่งใด วิธีการอย่างไร จากนั้นลงมือดำเนินการศึกษาค้นคว้า สังเกต จดจำ บันทึก ข้อมูล สรุปความรู้ที่ได้ จัดทำผลงานความรู้และนำเสนอ รวมทั้งนำความรู้ที่ได้ไปสืบค้น และแสวงหาความรู้ต่อไป
3. พฤติกรรมทางสังคม หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกของเด็กที่แสดงถึงความรู้สึกที่ดี โดยการกระทำหรือคำพูด และเป็นที่ยอมรับของสังคม

 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
1. เด็กได้เรียนรู้ตามความสนใจและความถนัดของตน
2. เด็กได้ลงมือปฏิบัติและสรรค์สร้างความรู้ด้วยตนเอง
3. ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะ ดังนี้ ความคิดสร้างสรรค์ (คิดหลากหลาย คิดริเริ่ม ไม่เลียนแบบจินตนาการ) ทักษะการแก้ปัญหา (ตัดสินใจ แก้ไขข้อขัดแย้ง) กระบวนการเรียนรู้ (วางแผน ค้นคว้า ปฏิบัติทดลอง) มนุษย์สัมพันธ์ (ความร่วมมือ ทำงานกลุ่ม ช่วยเหลือ แบ่งปัน) การสื่อความหมาย (ถามคำถามโต้ตอบ แสดงความคิดเห็น) ความมีวินัย (รับผิดชอบต่องานตรงต่อเวลาซื่อสัตย์ รอคอย) ทักษะการสังเกต(สนใจ อยากรู้ ซักถาม) และผู้นำ (ผู้ริเริ่ม ผู้ให้ ผู้รับ)
4. เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ
5. เป็นเทคนิคการสอน การเรียน ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
6. เป็นเทคนิคการประเมินที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
7. ใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ เพื่อรู้จักเด็กมากขึ้น
8. ใช้เป็นข้อมูลในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู
9. เด็กได้ทำงานร่วมกับเพื่อน พ่อ แม่ และครู
10. เด็กได้วิพากษ์วิจารณ์ วิธีการผลงานทั้งของตนและคนอื่น
11. เด็กได้มีโอกาสนำเสนอผลงานที่ตนสนใจ ถนัดเพื่อใช้ในการประเมิ




30 SEBTEMBER 2013

18th.


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา08:30-12:20น. กลุ่มเรียน101 เลขที่16


ความรู้ที่ได้รับ

   - การแต่งกาย วันนี้วันสุดท้ายของการเรียนต้องแต่งกายใหเถูกระเบียบ แล้วกล่าวตักเตือนคนที่ใส่ชุดพละกับชุดเอกมาเรียนในวันนี้

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน  ได้แก่      
1.   ทักษะการสังเกต      
2.   ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล      
3.   ทักษะการจำแนกประเภท     
4.   ทักษะการวัด             
5.   ทักษะการใช้ตัวเลข                          
6.   ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล    
7.   ทักษะการพยากรณ์  
8.   ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา

 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม  ได้แก่      
1.   ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร   
2.   ทักษะการตั้งสมมุติฐาน     
3.   ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ   
4.   ทักษะการทดลอง       
5.   ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป




ความรู้เพิ่มเติม

รูปแบบการสอนแบบต่างๆ

การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม(Questioning Method)
แนวคิด
                เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ประโยชน์
1.             ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมายกันได้ดี
2.             ช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.             สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
4.             ช่วยเน้นและทบทวนประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้ที่เรียน
5.             ช่วยในการประเมินผลการเรียนการสอน ให้เข้าใจความสนใจที่แท้จริงของผู้เรียน และ
วินิจฉัยจุดแข็งจุดอ่อนของผู้เรียนได้
6.             ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการชอบคิดให้กับผู้เรียน ตลอดจนนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต

วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา
แนวคิด
                การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลซิปปา เป็นแนวคิดของทิศนา แขมมณี ที่กล่าวว่า ซิปปา (CIPPA) เป็นหลักการซึ่งสามารถนำไปเป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก CIPPA  สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย อาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ CIPPA MODEL เป็นวิธีหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า  รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การมีส่วนร่วมในการสร้างคามรู้ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และการแลกเปลี่ยนความรู้ การได้เคลื่อนไหวทางกาย การเรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

วิธีสอนแบบโครงงาน(Project Method)
แนวคิด
                เป็นวีการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า หรือปฏิบัติงานตามหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ ซึ่งผู้เรียนจะต้องฝึกกระบวนการทำงานอย่างมีขั้นตอน มีการวางแผนในการทำงานหรือการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ จนการดำเนินงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ ส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้อย่างหลากหลาย อันเป็นประสบการณ์ตรงที่มีคุณค่า สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ ได้วีการสอนโครงงานสามารถสอนต่อเนื่องกับวีสอนแบบบูรณาการได้ ทั้งในรูปแบบบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ และบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาบูรณาการเพื่อทำโครงงาน
ประโยชน์
1.             เป็นการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนมีบทบาท มีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้ปฏิบัติ
จริงคิดเอง ทำเอง อย่างละเอียดรอบคอบ อย่างเป็นระบบ
2.             ผู้เรียนรู้จักวีแสวงหาข้อมูล สร้างองค์ความรู้และสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง
3.             ผู้เรียนมีทักษะในการแก้ปัญหา มีทักษะกระบวนการในการทำงาน มีทักษะการเคลื่อนไหวทางกาย
4.             ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ ทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้
5.             ฝึกความเป็นประชาธิปไตย คือการรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีเหตุผล มีการยอมรับในความรู้ ความสามารถซึ่งกันและกัน
6.             ผู้เรียนได้ฝึกลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงาน เช่น การจดบันทึกข้อมูล การเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ความรับผิดชอบ ความซื่อตรง ความเอาใจใส่ ความขยันหมั่นเพียรในการทำงาน รู้จักทำงานอย่างเป็นระบบ ทำงานอย่างมีแผน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
7.             ผู้เรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถนำความรู้ ความคิด หรือแนวทางที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิต หรือในสถานการณ์อื่น ๆ ได้

การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
แนวคิด
                เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นโดยสร้างความรู้จากกระบวนการทำงานกลุ่ม ตัวปัญหาจะเป็นจุดตั้งต้นของกระบวนการเรียนรู้ และเป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเหตุผล และการสืบค้นหาข้อมูลเพื่อเข้าใจกลไกของตัวปัญหา รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหา
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ประโยชน์
                มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะและกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง ซึ่งผู้เรียนจะได้ฝึกฝนการสร้างองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยการแก้ปัญหาอย่างมีความหมายต่อผู้เรียน

การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ(Discovery Method)
แนวคิด
                เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ หรือความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนจะเป็นผู้สร้างสถานการณ์ในลักษณะที่ผู้เรียนจะเผชิญกับปัญหา ซึ่งในการแก้ปัญหานั้น ผู้เรียนจะใช้กระบวนการที่ตรงกับธรรมชาติของวิชาหรือปัญหานั้น เช่นผู้เรียนจะศึกษาปัญหาทางชีววิทยา ก็จะใช้วิธีเดียวกันกับนักชีววิทยาศึกษา หรือผุ้เรียนจะศึกษาปัญหาประวัติศาสตร์ ก็จะใช้วิธีการเช่นเดียวกับนักประวัติศาสตร์ศึกษา ดังนั้น จึงเป็นวิธีจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ เหมาะสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ แต่ก็สามารถใช้กับวิธีอื่น ๆ ได้ ในการแก้ปัญหานั้น ผู้เรียนจะต้องนำข้อมูลทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปเพื่อให้ได้ข้อค้นพบใหม่หรือเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบเน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบหรือความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งผู้เรียนจะใช้วิธีการหรือกระบวนการต่าง ๆ ที่เห็นว่ามีประสิทธิภาพและตรงกับธรรมชาติของวิชา หรือปัญหา ดังนั้นจึงมีผู้นำเสนอวิธีการการจัดการเรียนรู้ไวหลากหลาย  เช่น  การแนะให้ผู้เรียนพบหลักการทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเองโดยวิธีอุปนัย  การที่ผู้เรียนใช้กระบวนการแก้ปัญหาแล้วนำไปสู่การค้นพบ  มีการกำหนดปัญหา  ตั้งสมมติฐานและรวบรวมข้อมูล  ทดสอบสมมติฐานและสรุปข้อค้นพบ   ซึ่งอาจใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการทดลองด้วย  การที่ผู้สอนจัดโปรแกรมไว้ให้ผู้เรียนใช้การคิดแบบอุปนัยและนิรนัยในเรื่องต่างๆ  ก็สามารถได้ข้อค้นพบด้วยตนเอง  ผู้สอนจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา  แนะนำหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้วิธีหรือกระบวนการที่เหมาะสม
 ประโยชน์
1.             ช่วยให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล
2.             ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบสิ่งที่ค้นพบได้นานและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
3.             ผู้เรียนมีความมั่นใจ  เพราะได้เรียนรู้สิ่งใหม่อย่างเข้าใจจริง
4.             ช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านความคิด
5.             ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน  ค้นคว้าเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง
6.             ก่อให้เกิดแรงจูงใจ  ความพึงพอใจในตนเองต่อการเรียนสูง
7.             ผู้เรียนรู้วิธีสร้างความรู้ด้วยตนเอง  เช่น  การหาข้อมูล  การวิเคราะห์และสรุปข้อความรู้
8.             เหมาะสมกับผู้เรียนที่ฉลาด  มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีแรงจูงใจสูง

23 SEBTEMBER 2013

17th.


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา08:30-12:20น. กลุ่มเรียน101 เลขที่16


ความรู้ที่ได้รับ
- อาจารย์ให้เพื่อนที่เขียนแผนทำแกงจืด ที่แต่ละกลุ่มได้เลือกทำแกงจืดในสัปดาห์ที่แล้ว นำมาสอนให้กับเพื่อนๆในห้อง วิธีการทำแกงจืดดังนี้










ความรู้เพิ่มเติม
ประโชน์บองการจัดประสบการณ์การประกอบอาหาร
การประกอบอาหารเป็นกิจกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติการที่สนุกสนาน และเร้าความสนใจในการเรียนรู้ของเด็กได้เป็นอย่างดี กิจกรรมนี้ไม่ได้มุ่งเน้นที่ผลงานหรืออาหารที่ทำเสร็จ แต่อยู่ที่กระบวนการระหว่างการทำกิจกรรมเป็นสำคัญ กิจกรรมการประกอบอาหารมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กดังนี้

  • เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการ และอาหารหมู่ต่างๆ จากการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร เช่น การทำผัดผักรวม เด็กจะเรียนรู้ว่าผักมีประโยชน์ให้วิตะมินและแร่ธาตุต่างๆ กุ้งให้สารอาหารประเภทโปรตีน และไขมัน ฯลฯ
  • เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับรายการอาหารใหม่ๆ และส่วนประกอบของอาหารในแต่ละวัฒนธรรมหรือท้องถิ่น เช่น อาหารทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ส้มตำ ลาบ น้ำตก ต้มแซ่บ ฯลฯ อาหารภาคใต้ ได้แก่ แกงไตปลา แกงเหลือง ผัดเผ็ดสะตอกุ้งสด ฯลฯ
  • เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพที่แตกต่างกันในอาหารแต่ละประเภท และอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาหาร เช่น การทำข้าวผัดอนุบาล จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้าวมาจากไหน ดังนั้น เด็กจึงต้องเรียนรู้อาชีพชาวนา การทำยำทะเลเด็กจะได้เรียนรู้อาชีพชาวประมง ทำสลัดผลไม้จะได้เรียนรู้อาชีพชาวสวน หรือการปรุงอาหารจากรายการอาหารใหม่ๆ จะเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพพ่อครัวหรือเชฟ เป็นต้น
  • เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นขณะปรุงอาหาร การระเหยของน้ำในหม้อแกง การเปลี่ยนสีของผักก่อนและหลังการปรุง การละลายของเนย การเปลี่ยนสถานะของน้ำ การเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กลง หรือใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ เด็กยังได้ฝึกฝนทักษะการเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดกลุ่มของวัสดุที่เป็นส่วนประกอบของอาหารแต่ละชนิด เช่น ให้เปรียบเทียบขนาดของผลส้ม ให้จัดประเภทของผลไม้หรือผักต่างๆ ฯลฯ
  • เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น การเปรียบเทียบปริมาณน้ำส้มคั้นในแต่ละแก้ว การเรียงลำดับขนาดจากใหญ่ไปหาเล็กของผลมะเขือเทศ การนับจำนวนแตงกวา แครอท การรู้ค่าจำนวน - 10 จากการใช้สื่อประเภทผักหรือผลไม้ที่นำมาประกอบอาหาร
  • เด็กจะได้พัฒนาทักษะทางภาษา เด็กจะได้เรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ จากวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการประกอบอาหาร เช่น จาน ชาม ช้อน มะม่วง แตงโม ผักกาด นอกจากนี้เด็กยังได้พัฒนาทักษะการฟัง การพูดคุยตอบโต้ระหว่างครูและเพื่อนๆ หรือการแสดงความคิดเห็นในขณะปฏิบัติกิจกรรม
  • เด็กจะได้รับการพัฒนาทักษะทางสังคม ในการประกอบอาหารครูอาจแบ่งเด็กให้ปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม การทำงานกลุ่มย่อมทำให้เด็กพัฒนาการสื่อสารระหว่างกัน การแก้ปัญหาทางสังคมจะเกิดขึ้นในช่วงนี้ เด็กจะได้วางแผนและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ มีการแบ่งปัน ช่วยเหลือและมีพฤติกรรมการเอื้อเฟื้อ ตลอดจนการรู้จักการปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่ม
  • เด็กจะได้รับการพัฒนาทางด้านอารมณ์ กิจกรรมประกอบอาหารเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานและท้าทายการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ร่วมกิจกรรมและปฏิบัติการด้วยตนเอง การอด้วยความจดจ่อว่าเมื่อไรอาหารจะสุก
  • เด็กจะได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง เด็กบางคนอามีทัศนคติที่ไม่ดีกับการรับประทานผักบางชนิด การจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่เด็กได้ลงมือปรุงด้วยตนเองเป็นการสร้างทัศนคติในเชิงบวกและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้ เช่น ถ้าครูสังเกตว่ามีเด็กบางคนไม่ชอบรับประทานผักคะน้า ครูอาจจัดกิจกรรมประกอบอาหารประเภทผัดผักรวมและให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเตรียมผัก ล้างผัก หั่นผักและปฏิบัติการขั้นปรุงด้วยตัวเด็กเอง เด็กก็จะยอมรับในการรับประทานผักชนิดนั้นได้
  • สร้างความเชื่อมั่นในตนเองและสร้างความภาคภูมิใจให้เกิดกับเด็ก ในการประกอบอาหารในแต่ละครั้ง ครูเปิดโอกาสให้เด็กได้ปฏิบัติการประกอบอาหารด้วยตนเองเป็นกลุ่ม เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการปรุงอาหารทุกครั้ง ครูให้แรงเสริมอย่างสม่ำเสมอ เด็กจะเกิดความเชื่อมั่นในการทำกิจกรรมในครั้งต่อไปและจะพัฒนาไปสู่ความภาคภูมิใจในตนเองได้
  • เด็กจะได้รับการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น การประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา การที่เด็กได้หั่นผัก ตักน้ำตาลหรือเกลือใส่ลงในกระทะ เทเครื่องปรุงทั้งหมดลงในหม้อ การเทน้ำส้มลงไปในแก้ว การปั้นแป้งทำขนมบัวลอย กิจกรรมต่างๆ นี้เป็นเรื่องของการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยสร้างสุขนิสัย สุขอนามัย และโภชนาการที่ถูกต้องให้กับเด็ก การประกอบอาหารจะทำให้เด็กเรียนเกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์จากการบูรณาการการเรียนรู้ขณะปฏิบัติกิจกรรม การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และให้ครบ 5 หมู่ การรับประทานอาหารที่ถูกวิธี การใช้อุปกรณ์และมารยาทที่ควรปฏิบัติขณะรับประทานอาหาร การใช้ช้อน ส้อมและการจัดเก็บและทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ
  • ช่วยพัฒนาเจตจำนงภายในให้เกิดกับเด็ก การประกอบอาหารช่วยให้เด็กเรียนรู้พร้อมๆ กับการพัฒนาเจตจำนงของตน สำหรับเด็กแล้วการแปรเปลี่ยนจากเมล็ดข้าวแข็งๆ มาเป็นผงแป้งหรือเป็นน้ำ และท้ายที่สุดกลับกลายเป็นอาหารหรือขนมหลายรูปแบบ กล่าวได้ว่าเป็นกระบวนการที่น่าอัศจรรย์ใจ ชวนตื่นเต้น ด้วยเหตุนี้เด็กจึงใจจดใจจ่อ เรียนไปกับกระบวนการทำอาหารจนกลายมาเป็นอาหารให้เด็กรับประทาน และพัฒนาขึ้นมาเป็นพลังเจตจำนงภายในตัวเด็กในภายหลัง

16 SEBTEMBER 2013

16th.


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา08:30-12:20น. กลุ่มเรียน101 เลขที่16



ความรู้ที่ได้รับ
          - เรียนกับอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
          - อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม กลุ่มละ 8-10 คน และแจกกระดาษให้กลุ่มละ 4 แผ่น ได้เรียนเกี่ยวกับการเขียนแผน การจัดประสบการณ์การทำอาหาร ดังนี้

การจัดประสบการณ์การทำอาหาร

 ราดหน้า

 วิธีการทำราดหน้า

 แผนการจัดประสบการณ์ มาทำราดหน้ากันเถอะ

ความรู้เพิ่มเติม

การจัดประสบการณ์การประกอบอาหาร (Cooking experience) หมายถึง การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมผ่านขั้นตอนและกระบวนการประกอบอาหารประเภทต่างๆ ที่เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ เกิดความคิดรวบยอดและพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ อย่างสมดุล จากการได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเรียนรู้ จนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเองการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ (Child centered) อีกทั้งยังปลูกฝังเด็กให้เด็กมีพฤติกรรมทางด้านสุขภาพ สุขอนามัย และโภชนาการที่ดี
การประกอบอาหาร
ความสำคัญของการจัดประสบการณ์ประกอบอาหาร
การเรียนรู้ของมนุษย์เรามีผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยเด็กจะต้องเป็นผู้กระทำให้เกิดขึ้นด้วยตนเอง และการเรียนรู้จะเป็นไปได้ดีถ้าเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้เคลื่อนไหว มีโอกาสได้คิดริเริ่มตามความต้องการและความสนใจของตนเอง รวมทั้งอยู่ในบรรยากาศที่เป็นอิสระ อบอุ่น และปลอดภัย ครูจึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก ต้องปรับเปลี่ยนจากบทบาทผู้ที่สั่งสอนด้วยชี้นำ บอกความรู้ให้เด็กมาเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวกแก่เด็กในด้านต่างๆ เพื่อให้เด็กได้ลงมือกระทำกิจกรรมด้วยตนเองจนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตนเอง หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เมื่อจบการศึกษาระดับปฐมวัยแล้ว เด็กจะบรรลุมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่กำหนดไว้ในจุดหมาย จำนวน 12 ข้อ ได้แก่
  • ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
  • กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
  • มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข
  • มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
  • ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
  • ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
  • รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
  • อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
  • ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
  • มีความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
  • มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
  • มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้
พัฒนาการทางด้านรางกายของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่
  • การเจริญเติบโตด้านกายภาพ (Physical Growth)
  • วุฒิภาวะ (Maturation)
  • ประสาทสัมผัสและการรับรู้ (Sensation and Perception)
  • การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใหญ่ (Gross - motor Development)
  • การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเล็ก (Fine - motor Development)
งานพัฒนาการทางด้านร่างกายทั้ง 5 ส่วนนี้ต้องสอดประสานรับกันและมีความงอกงามไปพร้อมๆ กัน มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันที่หล่อหลอมเป็นหน้าต่างของการเรียนรู้ การเติบโตทางด้านกายภาพเป็นงานพัฒนาการทางกายวิภาคที่มีผลมาจากภาวะโภชนาการและการออกกำลังกาย น้ำหนักและส่วนสูงที่เพิ่มพูนขึ้นจะเป็นการทำงานของวุฒิภาวะที่เป็นงานทางด้านสรีระวิทยาของพัฒนาการที่ส่งผลพฤติกรรมการเรียนรู้ในด้านต่างๆ การทำงานที่สอดประสานกันระหว่างการเติบโตทางด้านกายภาพและวุฒิภาวะส่งผลให้การทำงานของประสาทสัมผัสและการรับรู้ยิ่งมีความคมชัดและแม่นยำขึ้น และผลรวมของการเจริญเติบโตด้านกายภาพ วุฒิภาวะ ประสาทสัมผัสและการรับรู้ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในทำนองเดียวกันการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กก็ส่งเสริมให้การเติบโตทางกายภาพ ประสาทสัมผัส และการรับรู้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายให้เต็มตามศักยภาพของเด็กแต่ละคนนั้น จึงต้องตระหนักถึงพัฒนาการทางด้านร่างกายทั้ง 5 ส่วน ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายเป็นผลของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวุฒิภาวะ และการเรียนรู้ กล่าวคือ วุฒิภาวะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับการเรียนรู้ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งความสามารถบางอย่างอาจจะไม่เกิดขึ้นหรือเกิดความล้าช้าที่ควรจะเป็น พัฒนาการทางด้านร่างกายจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูงที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งคุณภาพในการใช้อวัยวะส่วนต่างๆ พัฒนาการทางด้านร่างกายเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องตลอดเวลา และเป็นไปตามลำดับขั้น ไม่มีการข้ามขั้น เช่น เด็กนั่งได้ก่อนที่จะเดินหรือวิ่งได้ เด็กสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายของแขน ขาได้ก่อนไปบังคับการใช้กล้ามเนื้อเล็ก แต่เด็กแต่ละคนจะมีอัตราของพัฒนาการทางด้านร่างกายที่แตกต่างกัน และพัฒนาการทางด้านร่างกายของบุคคลขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยต่อการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของบุคคล โภชนาการ การพักผ่อน โอกาสของการเรียนรู้ที่เหมาะสม และสิ่งอื่นๆ อีกมากมายล้วนมีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ได้ระบุว่า การส่งเสริมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นหัวใจสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ซึ่งอาหารทุกชนิดมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อช่วยเสริมสร้างซ่อมแซมร่างกายให้แข็งแรงในวัยเด็กให้มีสุขภาพที่ดี ครอบครัวไม่สิ้นเปลืองค่ารักษาพยาบาลและรัฐบาลไม่ต้องเสียงบประมาณไปกับการรักษาโรค อีกทั้งยังทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองที่ดี การมีสุขภาพดีนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ คือ อาหารดี ออกกำลังกายดี อารมณ์ดี อนามัยชุมนดี และการปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ สุขภาพและสมรรถภาพที่ดีเป็นผลมาจากการได้รับอาหารดีถูกหลักโภชนาการ ได้รับสารอาหารครบถ้วน และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย การบริโภคอาหารที่ดีมีคุณค่า เหมาะสมกับสภาพร่างกายในเด็กปฐมวัย ทำให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตแข็งแรง โครงสร้างทางด้านร่างกายได้สัดส่วนและมีภูมิต้านทานโรคภัยไข้เจ็บต่างๆสูง ทั้งยังช่วยซ่อมซมร่างกานส่วนที่สึกหรอ พัฒนาจิตใจ สมองให้พัฒนาอย่างเต็มที่ จากการได้รับการส่งเสริมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการตั้งแต่ระดับปฐมวัย
การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมนิสัยการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการมีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายโดยรวมให้มีการเจริญเติบโต แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย กิจกรรมที่ส่งเสริมด้านโภชนาการควรจัดผสมผสานในด้านอื่นๆ ด้วย เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาด้านความรู้ การปฏิบัติตนและกิจนิสัย กิจกรรมที่ควรจัด มีดังนี้
  • กิจกรรมการรับรู้ของประสาทสัมผัส และให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในเรื่องรูป รส กลิ่นและผิวสัมผัส
  • การบอกชื่ออาหาร อุปกรณ์ที่ใช้
  • ฝึกการใช้อุปกรณ์ที่ถูกวิธี
  • ฝึกการเลือกอาหารที่มีคุณค่า
  • ฝึกการปรุงอาหารง่ายๆ
  • ฝึกการใช้อุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร เช่น ช้อน ส้อม จาน
  • ฝึกการดูแลรักษาความสะอาดขณะรับประทาน
  • ฝึกการจัดเก็บอุปกรณ์
  • ฝึกการทำความสะอาดโต๊ะและอุปกรณ์
  • ฝึกมารยาทในการรับประทานอาหาร
  • ฝึกให้เด็กรับประทานอาหารที่มีคุณค่า
  • ฝึกให้เด็กบอกประโยชน์ของอาหาร
  • ฝึกการทำความสะอาดฟัน ปาก หลังรับประทานอาหาร
  • ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการรับประทานอาหาร
การประกอบอาหารเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เรียนรู้จากกระบวนการทำงานเริ่มตั้งแต่กระบวนการวางแผนจนไปถึงกระบวนการทำความสะอาดอุปกรณ์ และสถานที่ ประสบการณ์ที่ได้รับจากการประกอบอาหารจะทำให้เด็กได้รับความรู้ เกิดความรู้สึกประความสำเร็จ และเป็นการปลูกฝังลักษณะนิสัยในการรับประทานอาหารที่ติดตัวไปตลอดชีวิต

15 SEBTEMBER 2013

15th.


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา08:30-12:20น. กลุ่มเรียน101 เลขที่16


วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน2556 เรียนชดเชยที่หยุดไปวันจันทร์ที่ 9กันยายน 2556

เนื้อหาสาระความรู้
แต่ละกลุ่มออกนำเสนอของเล่นเข้ามุม
1.ภาพสองมิติ
2.นิทานเคลื่อนที่โดยแม่เหล็ก
3.กล่องสีน่าค้นหา
4.รถลงหลุม
5.ลิงห้อยโหน
6.เวทีซูโม่กระดาษ
7.กระดาษเปลี่ยนสี
8.การเจริญเติบโตของสัตว์
9.ความสัมพันธ์ของสัตว์


ความรู้เพิ่มเติม
ห้องเรียนจะแบ่งเป็นพื้นที่มุมเล่นสำหรับเด็ก เช่น มุมหนังสือและมุมเขียน มุมบล็อก มุมศิลปะ มุมบ้าน มุมของเล่น และมุมนิทรรศการ จัดให้มีพื้นที่อเนกประสงค์สำหรับทำกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กิจกรรมกลุ่มย่อย รับประทานอาหาร และนอนพักผ่อน พื้นที่เก็บของใช้ส่วนตัวเด็กและครู และพื้นที่เพื่อการสื่อสารกับผู้ปกครอง 

มุมหนังสือและมุมเขียน
images/stories/room2.jpgimages/stories/room3.jpg
            มุมหนังสือและมุมเขียนจัดหนังสือไว้อย่างน้อย 5 เท่าของจำนวนเด็กในห้องเรียน จัดวางหนังสือหลากหลายชนิด ซึ่งมีความยากง่ายต่างๆกัน จัดหนังสือตามหัวข้อที่เด็กสนใจมาวางเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงหนังสือตามโอกาส จัดให้น่าสนใจและดึงดูดใจให้เด็กเข้าไปอ่าน ปูพรม มีหมอนขนาดต่างๆ จัดให้มีสมุดบันทึกการอ่าน 
และเปิดโอกาสให้เด็กยืมหนังสือกลับไปอ่านที่บ้าน จัดวางกระดาษชนิดต่างๆ เครื่องเขียนหลากหลายชนิด และตรายางไว้ จัดให้มีรายการคำเพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับการเขียน- จัดอุปกรณ์ให้เพียงพอกับเด็กและจัดวางให้เด็กหยิบใช้และเก็บเองได้


 มุมบล๊อก
images/stories/room4.jpg
            มุมบล็อกจัดให้มีบล็อกหลายขนาด หลายประเภทและมีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการของเด็ก มีของเล่นประกอบ เช่น ต้นไม้ สัตว์ คน รถ จำลอง ปูพรมเพื่อป้องกันไม่ให้เสียงดังเกินไป จัดไว้ห่างจากมุมหนังสือ ทำป้ายหรือสัญลักษณ์เพื่อแสดงที่เก็บบล็อก จัดวางกระดาษ และเครื่องเขียนไว้เพื่อการบันทึก และจัดแสดงบันทึกผลงานการต่อบล็อกของเด็ก

 มุมบ้าน
images/stories/room5.jpg
   
 มุมบ้านจัดให้มีสิ่งของต่างๆสำหรับเล่นสมมุติ เช่น เสื้อผ้า ของใช้ ถ้วยชาม ผักผลไม้จำลอง โทรศัพท์ เตารีด ตุ๊กตา เปล กระจก จัดเครื่องเขียนและกระดาษไว้เพื่อให้เด็กสามารถเขียนเมื่อต้องการ จัดให้มีบรรยากาศอบอุ่นคล้ายบ้าน เปลี่ยนเป็นมุมอื่นๆได้ตามความสนใจของเด็ก เช่น ร้านอาหาร โรงพยาบาล ร้านเสริมสวย ร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ

มุมของเล่น
images/stories/room6.jpg
       มุมของเล่นเป็นมุมที่ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการจำแนก การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง การเรียงลำดับ และการนับ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญทางคณิตศาสตร์ได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ รวมทั้งยังส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสเพื่อการรับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆ อีกด้วย สื่อที่จัดไว้ในมุมของเล่นประกอบด้วยของเล่นสำหรับแยกประเภท และจัดกลุ่ม เช่น เปลือกหอยกระดุม ก้อนหิน เมล็ดพืช ฯลฯ ของเล่นที่แยกออกและประกอบเข้าด้วยกันได้ เช่น วัสดุสำหรับการร้อย เลโก้ ขวดที่มีฝาขนาดต่างๆ ฯลฯ ของเล่นสมมุติเล็กๆ เช่น บ้านตุ๊กตา เครื่องมือช่าง ฯลฯ เกมการศึกษาของเล่นที่จัดวางไว้ควรเหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็ก มีการเปลี่ยนแปลงตามโอกาส และหัวข้อที่เด็กสนใจ จัดให้น่าสนใจ และดึงดูดให้เด็กเข้าไปเล่น จัดของเล่นประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันในภาชนะที่เด็กมองเห็นของเล่นได้ง่าย จัดวางในระดับสายตาของเด็ก และใช้สัญลักษณ์เพื่อให้เด็กเก็บของเล่นเข้าที่ได้โดยสะดวก

มุมวิทยาศาสตร์
images/stories/room7.jpg
    ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยทุกคนมีความเป็นนักสำรวจโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอยู่ในตัวเอง เด็กจะใช้การดู ฟัง ดม ชิม และสัมผัสเพื่อค้นหาคำตอบ มุมวิทยาศาสตร์จึงเป็นมุมที่ตอบสนองต่อความต้องการของเด็กได้เป็นอย่างดีสื่อที่ควรจัดไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ควรเป็นสื่อจากธรรมชาติ เช่น เปลือกหอย ก้อนหิน เมล็ดพืช รังนก ต้นไม้ ฯลฯ อาจมีการเลี้ยงปลา มีอุปกรณ์อื่นๆ เช่น แว่นขยาย แม่เหล็ก สายวัด คาไลโดสโคป หนังสือหรือโปสเตอร์เกี่ยวกับการทดลอง ชีวิตสัตว์ หรือเรื่องอื่นๆ ที่เด็กสนใจสำรวจและเรียนรู้ ควรจัดให้มีเครื่องเขียน และกระดาษสำหรับบันทึกไว้ด้วย

มุมนิทรรศการ
images/stories/room8.jpg
มุมนิทรรศการเป็นมุมที่จัดไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายประสบการณ์ให้แก่เด็กในเรื่องที่เด็กสนใจ แนวคิดหลักในการจัดมุมนิทรรศการจะคล้ายๆ กับการจัดป้ายนิเทศตามเรื่องที่เรียนในสมัยก่อน แต่ปรับเปลี่ยนเป็นการจัดแบบมิติ และให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดแทนการที่ครูเป็นผู้จัด อุปกรณ์ที่จัดวางไว้ ได้แก่ สิ่งของ รูปภาพ หนังสือ บันทึกคำพูดเด็ก และผลงานศิลปะของเด็กที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เด็กสนใจ ครูควรเชิญชวนให้เด็กๆ ช่วยกันนำอุปกรณ์มาจากที่บ้าน หรือช่วยกันค้นหาจากในห้องเรียนหรือในโรงเรียน การจัดนิทรรศการควรเปลี่ยนแปลงตามหัวข้อที่เด็กสนใจและกำลังเรียนรู้ตามหลักสูตร

 มุมศิลปะ
images/stories/room9.jpg
      เด็กปฐมวัยทุกคนมีความเป็นศิลปินโดยธรรมชาติ ศิลปะเป็นภาษาที่เด็กใช้เพื่อสื่อสารความเป็นตัวตนของเด็ก มุมศิลปะในห้องเรียนอนุบาลจึงควรมีวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลายเพื่อให้เด็กได้เลือกที่จะวาดภาพระบายสี เล่นกับสี พิมพ์ภาพ ปั้น พับ ฉีก ตัด ปะ ประดิษฐ์เศษวัสดุ ร้อย สาน หรือสร้างรูปจากอุปกรณ์ต่างๆ วัสดุอุปกรณ์ที่จัดวางไว้ในมุมศิลปะ ได้แก่ กระดานขาตั้งสำหรับวาดรูป กระดาษชนิดต่างๆ สีเทียน สีไม้ สีน้ำ พู่กัน รูปภาพสำหรับตัด หนังสือพิมพ์ กรรไกร กาว
แป้งโดว์ ดินเหนียว หรือวัสดุอื่นสำหรับการปั้น แม่พิมพ์ เชือก เสื้อกันเปื้อน ผ้าเช็ดมือ เศษวัสดุสำหรับการประดิษฐ์ ฯลฯ