15 SEBTEMBER 2013

15th.


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา08:30-12:20น. กลุ่มเรียน101 เลขที่16


วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน2556 เรียนชดเชยที่หยุดไปวันจันทร์ที่ 9กันยายน 2556

เนื้อหาสาระความรู้
แต่ละกลุ่มออกนำเสนอของเล่นเข้ามุม
1.ภาพสองมิติ
2.นิทานเคลื่อนที่โดยแม่เหล็ก
3.กล่องสีน่าค้นหา
4.รถลงหลุม
5.ลิงห้อยโหน
6.เวทีซูโม่กระดาษ
7.กระดาษเปลี่ยนสี
8.การเจริญเติบโตของสัตว์
9.ความสัมพันธ์ของสัตว์


ความรู้เพิ่มเติม
ห้องเรียนจะแบ่งเป็นพื้นที่มุมเล่นสำหรับเด็ก เช่น มุมหนังสือและมุมเขียน มุมบล็อก มุมศิลปะ มุมบ้าน มุมของเล่น และมุมนิทรรศการ จัดให้มีพื้นที่อเนกประสงค์สำหรับทำกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กิจกรรมกลุ่มย่อย รับประทานอาหาร และนอนพักผ่อน พื้นที่เก็บของใช้ส่วนตัวเด็กและครู และพื้นที่เพื่อการสื่อสารกับผู้ปกครอง 

มุมหนังสือและมุมเขียน
images/stories/room2.jpgimages/stories/room3.jpg
            มุมหนังสือและมุมเขียนจัดหนังสือไว้อย่างน้อย 5 เท่าของจำนวนเด็กในห้องเรียน จัดวางหนังสือหลากหลายชนิด ซึ่งมีความยากง่ายต่างๆกัน จัดหนังสือตามหัวข้อที่เด็กสนใจมาวางเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงหนังสือตามโอกาส จัดให้น่าสนใจและดึงดูดใจให้เด็กเข้าไปอ่าน ปูพรม มีหมอนขนาดต่างๆ จัดให้มีสมุดบันทึกการอ่าน 
และเปิดโอกาสให้เด็กยืมหนังสือกลับไปอ่านที่บ้าน จัดวางกระดาษชนิดต่างๆ เครื่องเขียนหลากหลายชนิด และตรายางไว้ จัดให้มีรายการคำเพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับการเขียน- จัดอุปกรณ์ให้เพียงพอกับเด็กและจัดวางให้เด็กหยิบใช้และเก็บเองได้


 มุมบล๊อก
images/stories/room4.jpg
            มุมบล็อกจัดให้มีบล็อกหลายขนาด หลายประเภทและมีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการของเด็ก มีของเล่นประกอบ เช่น ต้นไม้ สัตว์ คน รถ จำลอง ปูพรมเพื่อป้องกันไม่ให้เสียงดังเกินไป จัดไว้ห่างจากมุมหนังสือ ทำป้ายหรือสัญลักษณ์เพื่อแสดงที่เก็บบล็อก จัดวางกระดาษ และเครื่องเขียนไว้เพื่อการบันทึก และจัดแสดงบันทึกผลงานการต่อบล็อกของเด็ก

 มุมบ้าน
images/stories/room5.jpg
   
 มุมบ้านจัดให้มีสิ่งของต่างๆสำหรับเล่นสมมุติ เช่น เสื้อผ้า ของใช้ ถ้วยชาม ผักผลไม้จำลอง โทรศัพท์ เตารีด ตุ๊กตา เปล กระจก จัดเครื่องเขียนและกระดาษไว้เพื่อให้เด็กสามารถเขียนเมื่อต้องการ จัดให้มีบรรยากาศอบอุ่นคล้ายบ้าน เปลี่ยนเป็นมุมอื่นๆได้ตามความสนใจของเด็ก เช่น ร้านอาหาร โรงพยาบาล ร้านเสริมสวย ร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ

มุมของเล่น
images/stories/room6.jpg
       มุมของเล่นเป็นมุมที่ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการจำแนก การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง การเรียงลำดับ และการนับ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญทางคณิตศาสตร์ได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ รวมทั้งยังส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสเพื่อการรับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆ อีกด้วย สื่อที่จัดไว้ในมุมของเล่นประกอบด้วยของเล่นสำหรับแยกประเภท และจัดกลุ่ม เช่น เปลือกหอยกระดุม ก้อนหิน เมล็ดพืช ฯลฯ ของเล่นที่แยกออกและประกอบเข้าด้วยกันได้ เช่น วัสดุสำหรับการร้อย เลโก้ ขวดที่มีฝาขนาดต่างๆ ฯลฯ ของเล่นสมมุติเล็กๆ เช่น บ้านตุ๊กตา เครื่องมือช่าง ฯลฯ เกมการศึกษาของเล่นที่จัดวางไว้ควรเหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็ก มีการเปลี่ยนแปลงตามโอกาส และหัวข้อที่เด็กสนใจ จัดให้น่าสนใจ และดึงดูดให้เด็กเข้าไปเล่น จัดของเล่นประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันในภาชนะที่เด็กมองเห็นของเล่นได้ง่าย จัดวางในระดับสายตาของเด็ก และใช้สัญลักษณ์เพื่อให้เด็กเก็บของเล่นเข้าที่ได้โดยสะดวก

มุมวิทยาศาสตร์
images/stories/room7.jpg
    ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยทุกคนมีความเป็นนักสำรวจโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอยู่ในตัวเอง เด็กจะใช้การดู ฟัง ดม ชิม และสัมผัสเพื่อค้นหาคำตอบ มุมวิทยาศาสตร์จึงเป็นมุมที่ตอบสนองต่อความต้องการของเด็กได้เป็นอย่างดีสื่อที่ควรจัดไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ควรเป็นสื่อจากธรรมชาติ เช่น เปลือกหอย ก้อนหิน เมล็ดพืช รังนก ต้นไม้ ฯลฯ อาจมีการเลี้ยงปลา มีอุปกรณ์อื่นๆ เช่น แว่นขยาย แม่เหล็ก สายวัด คาไลโดสโคป หนังสือหรือโปสเตอร์เกี่ยวกับการทดลอง ชีวิตสัตว์ หรือเรื่องอื่นๆ ที่เด็กสนใจสำรวจและเรียนรู้ ควรจัดให้มีเครื่องเขียน และกระดาษสำหรับบันทึกไว้ด้วย

มุมนิทรรศการ
images/stories/room8.jpg
มุมนิทรรศการเป็นมุมที่จัดไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายประสบการณ์ให้แก่เด็กในเรื่องที่เด็กสนใจ แนวคิดหลักในการจัดมุมนิทรรศการจะคล้ายๆ กับการจัดป้ายนิเทศตามเรื่องที่เรียนในสมัยก่อน แต่ปรับเปลี่ยนเป็นการจัดแบบมิติ และให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดแทนการที่ครูเป็นผู้จัด อุปกรณ์ที่จัดวางไว้ ได้แก่ สิ่งของ รูปภาพ หนังสือ บันทึกคำพูดเด็ก และผลงานศิลปะของเด็กที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เด็กสนใจ ครูควรเชิญชวนให้เด็กๆ ช่วยกันนำอุปกรณ์มาจากที่บ้าน หรือช่วยกันค้นหาจากในห้องเรียนหรือในโรงเรียน การจัดนิทรรศการควรเปลี่ยนแปลงตามหัวข้อที่เด็กสนใจและกำลังเรียนรู้ตามหลักสูตร

 มุมศิลปะ
images/stories/room9.jpg
      เด็กปฐมวัยทุกคนมีความเป็นศิลปินโดยธรรมชาติ ศิลปะเป็นภาษาที่เด็กใช้เพื่อสื่อสารความเป็นตัวตนของเด็ก มุมศิลปะในห้องเรียนอนุบาลจึงควรมีวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลายเพื่อให้เด็กได้เลือกที่จะวาดภาพระบายสี เล่นกับสี พิมพ์ภาพ ปั้น พับ ฉีก ตัด ปะ ประดิษฐ์เศษวัสดุ ร้อย สาน หรือสร้างรูปจากอุปกรณ์ต่างๆ วัสดุอุปกรณ์ที่จัดวางไว้ในมุมศิลปะ ได้แก่ กระดานขาตั้งสำหรับวาดรูป กระดาษชนิดต่างๆ สีเทียน สีไม้ สีน้ำ พู่กัน รูปภาพสำหรับตัด หนังสือพิมพ์ กรรไกร กาว
แป้งโดว์ ดินเหนียว หรือวัสดุอื่นสำหรับการปั้น แม่พิมพ์ เชือก เสื้อกันเปื้อน ผ้าเช็ดมือ เศษวัสดุสำหรับการประดิษฐ์ ฯลฯ

9 SEBTEMBER 2013

14th.


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา08:30-12:20น. กลุ่มเรียน101 เลขที่16


 ไม่มีการเรียนการสอนเพราะอาจารย์ติดธุระ 

แต่อาจารย์ได้นัดเรียนชดเชยในวัน อาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556 และอาจารย์ได้สั่งงานไว้ คือ 
ให้แต่ละกลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอของเล่นเข้ามุม,การทดลองและของเล่นให้นำมานำเสนอในวันที่เรียนชดเชย

ความรู้เพิ่มเติม

5 แหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในดวงใจ
 “ท้องฟ้าจำลอง” ขึงผืนฟ้ายามค่ำคืนไว้ในเมืองใหญ่


       

      “ท้องฟ้าจำลอง” เป็นศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาที่ตั้งอยู่ใกล้สถานีขนส่งเอกมัย สร้างความประทับใจและแรงบันดาลใจแก่เยาวชนมาเป็นเวลาเกือบ 50 ปีแล้ว และอาคารรูปโดมก็ทำหน้าที่จำลองค่ำคืนและดวงดาวจนเป็นสัญลักษณ์สำคัญของศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ และนอกจากแหล่งเรียนรู้ดาราศาสตร์แล้ว ยังมีอาคารนิทรรศการอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นมาในภายหลัง ได้แก่ อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาคารโลกใต้น้ำ อาคารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอาคารวิทยาศาสตร์สุขภาพ


 อุทยาน “หว้ากอ” แหล่งเรียนรู้วิทย์บนแดนประวัติศาสตร์

              อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวิทยาศาสตร์ และนอกจากนิทรรศการด้านดาราศาสตร์ที่สะท้อนภาพอดีตว่า ครั้งหนึ่งสถานที่แห่งนี้เคยเป็นสถานที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาวิทยาศาสตร์ไทย” เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณเวลาเกิดได้อย่างแม่นยำแล้ว ยังมีพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ หว้ากอ เป็นแหล่งเรียนรู้อันเป็นไฮไลท์ใหม่ของอุทยานแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ติดชายทะเล


“พิพิธภัณฑ์ภูเวียง” แหล่งขุดพบไดโนเสาร์ไทยแห่งแรก


       

       “พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง” แหล่งเรียนรู้แห่งนี้อยู่ใน อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น ซึ่งแม้จะอยู่ไกลถึงภาคอีสาน แต่ก็อยู่ในสถานที่แห่งแรกในเมืองไทยที่มีการขุดพบซากไดโนเสาร์ ซึ่งมีทั้งไดโนเสารกินเนื้อและไดโนเสาร์กินพืช เช่น ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดความยาว 15 เมตร ที่ได้รับพระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย "สิรินธร"เป็นชื่อไดโนเสาร์ คอมพ์ซอกเนธัส ไดโนเสาร์ขนาดเล็กตัวเท่าแม่ไก่ สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส ซึ่งจัดเป็นบรรพบุรุษของไดโนเสาร์กินเนื้ออย่าง ไทแรนนอซอรัสเร็กซ์ หรือ ทีเร็กซ์ เป็นต้น


 “พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา” แหล่งเรียนรู้พื้นปฐพีสำหรับคนเดินดิน


       

       “พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา” ตั้งอยู่ริมถนนสายพระราม 6 เปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย มีนิทรรศการเกี่ยวกับดินและทรัพยากรใต้พื้นดินหมุนเวียนตลอดทั้งปี ทั้งตัวอย่างผลึกแร่ก้อนโตที่ไม่มีให้ดูทั่วไป นิทรรศการอัญมณีเลอค่าที่เกิดจากใต้ดิน หรือนิทรรศการเกี่ยวกับปิโตรเคมีซึ่งเกิดจากการทับถมของซากอินทรีย์เป็นเวลาหลายล้านปี พร้อมความรู้เกี่ยวกับยุคต่างๆ ที่มีสิ่งมีชีวิตครองพื้นพิภพแตกต่างกันไปตามยุค


“พิพิธภัณฑ์จ่าทวี” แหล่งเก็บของพื้นบ้านซ่อนภูมิปัญญา


       

        “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี” ตั้งอยู่ใน จ.พิษณุโลก ที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้โบราณไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ ขณะที่หลายคนมองเห็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิตในอดีต ภูมิปัญญาในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืนก็เป็นอีกสาระที่สื่อออกมาจากของใช้เหล่านั้น ซึ่งล้วนอธิบายได้ด้วยหลักการที่เป็นวิทยาศาสตร์

2 SEBTEMBER 2013

13th.


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา08:30-12:20น. กลุ่มเรียน101 เลขที่16


เนื้อหาสาระความรู้


นำเสนอของเข้ามุมกลุ่มดิฉันนำเสนอ เขาวงกต มีสมาชิกดังนี้
1.นางสาวบงกช รัศมีธนาวงศ์
2.นางสาวกรรจิรา สึกขุนทด
3.นาสาวณัฐวดี ขำสม
4.นางสาวนพมาศ วันดี


การทำเขาวงกตมีอุปกรณ์ดังนี้

วิธีการทำเขาวงกตมีดังนี้




แต่ล่ะกลุ่มนำเสนอของเข้ามุม

กลุ่ม 1 การมองเห็นของผ่านวัตถุโปร่งใส โปร่งแสง และทึบแสง

กลุ่ม 2 กล่องนำแสง
กลุ่ม 3 สัตว์ไต่เชือก
กลุ่ม 4 กีตาร์กล่อง
กลุ่ม 5 วงจรผีเสื้อและไก่
กลุ่ม 6 เขาวงกต
กลุ่ม 7 มองวัตถุผ่านแว่นขยาย





26 AUGUST 2013

12th.


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา08:30-12:20น. กลุ่มเรียน101 เลขที่16


ไม่มีการเรียนการสอน เพราะอาจารย์จัดงานเกษียณอายุราชการ

ความรู้เพิ่มเติม

เกษียณอายุ คือการที่ข้าราชการต้องพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเป็นการออกจากราชการโดยผลของกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันข้าราชการที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว จะต้องพ้นจากราชการ เมื่อสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
      



             วันที่ 30 กันยายน ของทุกปี เป็นวันที่มีความสำคัญอย่างยิ่งวันหนึ่งในชีวิตของข้าราชการ คือเป็นวันเกษียณอายุราชการสำหรับผู้ที่มีอายุ 60 ปีในปีนั้น  คำว่าเกษียณหรือปลดเกษียณออกจะเป็นคำที่ฟังแล้วชวนให้รู้สึกหดหู่อยู่ไม่น้อย เพราะเหมือนกับการหมดสภาพที่จะทำงานต่อไปได้ หรือหมดความสำคัญต่อหน่วยงานนั้น ๆ อีกต่อไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ก็ยังมีอำนาจในการตัดสินใจหรือสั่งการเรื่องต่าง ๆ  มีผู้คนห้อมล้อม แสดงอาการเคารพนบนอบ แต่พอเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม เป๊งตำแหน่งหน้าที่และอำนาจราชศักดิ์ต่าง ๆ ก็จะหายวับไปกับตา ถ้าคิดเล่น ๆ ก็เหมือนกับคนที่ป่ายปีนภูเขาสูงชันด้วยความยากลำบากมาตลอดชีวิต แต่วันหนึ่งเมื่อขึ้นถึงยอดเขา ก็คือวันที่ต้องกระโดดลงมาสู่พื้นล่าง
            ภาวะที่สำนวนกำลังภายในเรียกว่า “สูงสุดคืนสู่สามัญ” นี้ แท้จริงแล้วเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นได้ในทุก ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นสถานะทางเศรษฐกิจ สถานะทางสังคม หรือการงาน หากรู้เท่าทันหรือเตรียมตัวเตรียมใจล่วงหน้า ก็คงจะไม่กระไรนัก และอาจจะปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้ไม่ยาก เคยคุยกับคนในวัยเกษียณหลายคนถึงความรู้สึกในวันที่เปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการประจำเป็นข้าราชการบำนาญ บางคนก็บอกว่ามันรู้สึกโหวง ๆ ยังไงไม่รู้ ถามต่อว่าโหวงขนาดไหนก็ได้รับคำตอบว่าโหวงเหมือนนุ่งผ้าขาวม้าตัวเดียว นี่แสดงว่าคงจะใส่เครื่องแบบหรือใส่สูทมาจนชิน พอเอาอินทรธนู เอาดาวเอามงกุฎ เอาเน็คไท เอาเสื้อนอกออกไป ก็เลยรู้สึกโล่งโจ้ง แต่บางคนก็บอกว่าสบายจัง ได้กลับเป็นตัวของตัวเองอีกครั้ง ไม่ต้องสวมหน้ายักษ์หน้าลิง หรือเต้นไปตามจังหวะที่คนอื่นเคาะ รู้อย่างนี้จะรีบเกษียณเสียนานแล้ว
            จริง ๆ แล้ว ถ้าหากทำความเข้าใจได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เป็นเพียงเรื่องสมมุติ ไม่ว่าจะเป็นยศถาบรรดาศักดิ์เครื่องแบบ ตำแหน่งต่าง ๆ หรือแม้แต่อายุ ก็คงจะทำให้เกิดความสบายอกสบายใจขึ้น เพราะถ้าจะพูดไปแล้ว เวลาหลังเกษียณเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของชีวิต และคนที่เป็นข้าราชการนั้นถ้าพูดแบบโบราณก็ต้องเรียกว่าเป็นทวิชาชาติ คือเกิดสองหนในชาติเดียวกัน เพราะเมื่อหมดจากชาติที่เป็นข้าราชการแล้ว ยังมีชาติของความเป็นสามัญชนอยู่อีกชาติหนึ่ง ผิดกับชาวไร่ชาวนาหรือพ่อค้าแม่ขายที่เกิดมามีอาชีพอะไรก็มักจะทำอาชีพนั้นไปจนตาย และชาติใหม่หลังเกษียณนี้เป็นชาติที่ค่อนข้างจะมีแต้มต่ออย่างสูงทั้งความรู้ ประสบการณ์การทำงาน ทุนทรัพย์ เครือข่าย และพันธมิตร ยิ่งในยุคปัจจุบันวิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปไกล จึงทำให้คนในวัยเกษียณมีสุขภาพที่ดีและมีอายุยืนยาว ถ้าดูแลตัวเองดี ๆ ก็อาจจะสามารถอยู่ดูโลกได้ถึงอายุ 80-90 ปี อย่างสบาย ๆ
            นอกจากสุขภาพกายแล้ว สุขภาพใจก็เป็นสิ่งสำคัญ ทำอย่างไรก็ได้ครับให้ใจของตัวเองเป็นสุข รวมทั้งหัวใจของลูกหลานหรือคนรอบข้างเป็นสุขด้วย บางคนอาจจะลงทุนลงแรงทำกิจการของตัวเอง บางคนก็อาจจะมีบริษัทห้างร้านว่าจ้างต่อ หรือบางคนก็อาจจะใช้ชีวิตสบาย ๆ กับงานที่ตนชอบ เดินทางท่องเที่ยว เข้าวัดเข้าวา เล่นกีฬา หรือพบปะเพื่อนฝูง รวมทั้งทำกิจกรรมเพื่อสังคม  อ้อ แล้วก็อย่าลืมตามโลกให้ทันด้วย
            โลกตะวันตกมีความเชื่อในอำนาจของผู้สูงอายุ หรือ Grey Power มานานแล้ว ดังนั้น คนในวัยเกษียณจึงไม่ใช่คนแก่ที่มีหน้าที่เลี้ยงหลานอย่างที่คนไทยชอบพูดกัน แต่คนในวัยนี้แหละครับที่เป็นทั้งเสาหลัก รวมทั้งมันสมองและพลังขับดันพลวัตรเศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองได้

19 AUGUST 2013

11th.


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา08:30-12:20น. กลุ่มเรียน101 เลขที่16


เนื้อหาสาระความรู้

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มี 4 ขั้นดังนี้


  1. การตั้งสมมุติฐาน
  2. การทดลอง
  3. การวิเคราะห์ข้อมูล
  4. การสรุป

           - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองาน การทดลองวิทยาศาสตร์ ของดิฉันคือ

การทดลอง แสงดาวที่หายไป



และการทดลองของเพื่อนๆมีดังนี้






ความรู้เพิ่มเติม

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  คือ  วิธีการและขั้นตอนที่ใช้ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
          1) วิธีการทางวิทยาศาสตร์   
          2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
          3) จิตวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method)
          วิธีการทางวิทยาศาสตร์  เป็นขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
 
               1. ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา  คือการระบุปัญหา  หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา  และกำหนด      ขอบเขตของปัญหา
 
               2. ขั้นตั้งสมมติฐาน  คือการคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็น  หรือการคาดเดาคำตอบ  ที่จะได้รับ
 
               3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล  คือการรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบ  สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยัน อาจทำได้โดยการสังเกต หรือการทดลอง
 
               4. ขั้นสรุปผล  คือการสรุปว่าจะปฏิเสธ หรือยอมรับสมมติฐาน ตามหลักเหตุและผล     เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา

17 AUGUST 2013

10th.


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา08:30-12:20น. กลุ่มเรียน101 เลขที่16


เรียนชดเชยวันแม่
  เนื้อหาสาระความรู้
อาจารย์ให้เพื่อนแต่ละคนออกไปนำเสนอของเล่นที่ตนได้นำเสนอไปเมื่อวันจันทร์ ที่ 15 กรกฏาคม 2556

แก้วกระโดด

การนำเสนอของเพื่อน

ความรู้เพิ่มเติม
5 แนวทางสอนคิด เติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล

วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ? ถ้าเด็กๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม? ควรจะให้เด็กๆ อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่


แท้ จริงแล้ววิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของ ตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

ผู้ใหญ่ หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการ ค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย



ดร.วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เรา คงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"


 
ทั้ง นี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ


ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็กๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริงๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"

"สำหรับ ปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิดๆ ได้"

นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้



สำหรับ ข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็กๆ แต่อย่างใด

ไม่เพียงแต่ คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดีๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็กๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์" ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ


12 AUGUST 2013

9th.


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา08:30-12:20น. กลุ่มเรียน101 เลขที่16


ม่มีการเรียนการสอน เพราะตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่


แม่...เป็นครูผ้สอนตอนต้น แม่...ทุกคนอุดมพรหมวิหาร

แม่...มีเมตตา กรุณา มุทิตาการ แม่...มีญาณอุเบกขาเป็นอารมณ์

แม่...เหมือนพระอรหันต์อันสูงสุด แม่...หวังบุตรธิดาอย่าชื่นชม
แม่...กับลูกผูกมิตรจิตชื่นชม แม่จึงสมภาษิตมิตรในเรือน

มีเพื่อนอื่นหมื่นแสนไม่เหมือนแม่ เป็นเพื่อนแท้แม่เกล้าเฝ้าอุปถัมภ์
เป็นทั้งแม่เพื่อนครูอยู่ประจำ ทุกเช้าค่ำรักหวงดังดวงใจ
ให้กำเหนิดเกิดกายสายโลหิต แม่ไม่คิดหน่ายรักพลิกผลักใส
เป็นแม่พระแม่เรือนแม่เพื่อนใจ แม่เหมือนนัยธรรมสุคตสุดบูชา

มีเพื่อนอื่นหมื่นแสนไม่เหมือนแม่ เป็นเพื่อนแท้แม่เกล้าเฝ้าอุปถัมภ์
เป็นทั้งแม่เพื่อนครูอยู่ประจำ ทุกเช้าค่ำรักหวงดังดวงใจ
ให้กำเหนิดเกิดกายสายโลหิต แม่ไม่คิดหน่ายรักพลิกผลักใส
เป็นแม่พระแม่เรือนแม่เพื่อนใจ แม่เหมือนนัยธรรมสุคตสุดบูชา




ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย
วันแม่แห่งชาติ งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีงานวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน
     ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เพลง  เรียงความเรื่องแม่
 "เรียงความเรื่องแม่" ที่ใครหลายๆคน เคยเรียงร้อยถึงแม่ของตัวเอง ยังจำกันได้อยู่รึเปล่า...  แม้ว่าเวลาจะผ่านมายาวนาน จนกระทั่งเราโตเป็นผู้ใหญ่ ผ่านเรื่องราวในชีวิตมามากมาย แต่บทเพลงเรียงความเรื่องแม่ นี้ น่าจะทำให้ใครหลายๆ คน น้ำตาซึม อดที่จะคิดถึงแม่ของตนเองไม่ได้ ไม่เว้นแม้แต่คนที่ไม่มีแม่เท่านั้น คนที่มีแม่เองก็เช่นกัน..
     แล้วในวันนี้ยังมีเด็กกำพร้าที่ไม่มีแม่อยู่อีกเท่าไหร่ ที่ต้องผ่านช่วงเวลาแห่งความระทมใจ
     ในปัจจุบันมีพ่อแม่หลายคนที่ไม่พร้อมจะมีบุตร เด็กกำพร้าก็มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งเกิดจากสภาพวิกฤตของสังคม ปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้า ส่งผลให้ครอบครัวแตกแยกขาดความอบอุ่น เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว รวมทั้งปัญหาการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ ทำให้ปัจจุบันมีเด็กถูกทอดทิ้งให้อยู่ในสถานสงเคราะห์เด็กเป็นจำนวนมาก


    ในเมื่อเราเกิดเป็นชาวพุทธ ได้เรียนรู้กฎแห่งกรรม เราทราบว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมา ล้วนมีเหตุมีปัจจัย ทำไมต้องเป็นเราที่กำพร้า ทำไมต้องเป็นเราที่ไม่มีแม่ ทำไมไม่เป็นคนอื่น นั่นเป็นเพราะเราได้สร้างเหตุเอาไว้เองในอดีต เราได้เคยทำแบบเดียวกันกับที่เราได้รับผลอยู่ เช่นว่า เราได้เคยพรากลูกมาจากพ่อแม่เขา พรากลูกนกมาจากแม่นก พรากลูกสุนัขมาจากแม่สุนัข เป็นต้น แต่ตอนที่เราทำเราไม่ได้คิดว่ามันจะมีผลกับเราอย่างไรบ้างในอนาคต  ดังนั้น เมื่อวิบากกรรมตามทัน จึงมาส่งผลให้ต้องมากำพร้าพ่อแม่อย่างนั้นบ้าง เท่านั้นเอง..