23 SEBTEMBER 2013

17th.


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา08:30-12:20น. กลุ่มเรียน101 เลขที่16


ความรู้ที่ได้รับ
- อาจารย์ให้เพื่อนที่เขียนแผนทำแกงจืด ที่แต่ละกลุ่มได้เลือกทำแกงจืดในสัปดาห์ที่แล้ว นำมาสอนให้กับเพื่อนๆในห้อง วิธีการทำแกงจืดดังนี้










ความรู้เพิ่มเติม
ประโชน์บองการจัดประสบการณ์การประกอบอาหาร
การประกอบอาหารเป็นกิจกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติการที่สนุกสนาน และเร้าความสนใจในการเรียนรู้ของเด็กได้เป็นอย่างดี กิจกรรมนี้ไม่ได้มุ่งเน้นที่ผลงานหรืออาหารที่ทำเสร็จ แต่อยู่ที่กระบวนการระหว่างการทำกิจกรรมเป็นสำคัญ กิจกรรมการประกอบอาหารมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กดังนี้

  • เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการ และอาหารหมู่ต่างๆ จากการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร เช่น การทำผัดผักรวม เด็กจะเรียนรู้ว่าผักมีประโยชน์ให้วิตะมินและแร่ธาตุต่างๆ กุ้งให้สารอาหารประเภทโปรตีน และไขมัน ฯลฯ
  • เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับรายการอาหารใหม่ๆ และส่วนประกอบของอาหารในแต่ละวัฒนธรรมหรือท้องถิ่น เช่น อาหารทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ส้มตำ ลาบ น้ำตก ต้มแซ่บ ฯลฯ อาหารภาคใต้ ได้แก่ แกงไตปลา แกงเหลือง ผัดเผ็ดสะตอกุ้งสด ฯลฯ
  • เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพที่แตกต่างกันในอาหารแต่ละประเภท และอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาหาร เช่น การทำข้าวผัดอนุบาล จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้าวมาจากไหน ดังนั้น เด็กจึงต้องเรียนรู้อาชีพชาวนา การทำยำทะเลเด็กจะได้เรียนรู้อาชีพชาวประมง ทำสลัดผลไม้จะได้เรียนรู้อาชีพชาวสวน หรือการปรุงอาหารจากรายการอาหารใหม่ๆ จะเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพพ่อครัวหรือเชฟ เป็นต้น
  • เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นขณะปรุงอาหาร การระเหยของน้ำในหม้อแกง การเปลี่ยนสีของผักก่อนและหลังการปรุง การละลายของเนย การเปลี่ยนสถานะของน้ำ การเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กลง หรือใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ เด็กยังได้ฝึกฝนทักษะการเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดกลุ่มของวัสดุที่เป็นส่วนประกอบของอาหารแต่ละชนิด เช่น ให้เปรียบเทียบขนาดของผลส้ม ให้จัดประเภทของผลไม้หรือผักต่างๆ ฯลฯ
  • เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น การเปรียบเทียบปริมาณน้ำส้มคั้นในแต่ละแก้ว การเรียงลำดับขนาดจากใหญ่ไปหาเล็กของผลมะเขือเทศ การนับจำนวนแตงกวา แครอท การรู้ค่าจำนวน - 10 จากการใช้สื่อประเภทผักหรือผลไม้ที่นำมาประกอบอาหาร
  • เด็กจะได้พัฒนาทักษะทางภาษา เด็กจะได้เรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ จากวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการประกอบอาหาร เช่น จาน ชาม ช้อน มะม่วง แตงโม ผักกาด นอกจากนี้เด็กยังได้พัฒนาทักษะการฟัง การพูดคุยตอบโต้ระหว่างครูและเพื่อนๆ หรือการแสดงความคิดเห็นในขณะปฏิบัติกิจกรรม
  • เด็กจะได้รับการพัฒนาทักษะทางสังคม ในการประกอบอาหารครูอาจแบ่งเด็กให้ปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม การทำงานกลุ่มย่อมทำให้เด็กพัฒนาการสื่อสารระหว่างกัน การแก้ปัญหาทางสังคมจะเกิดขึ้นในช่วงนี้ เด็กจะได้วางแผนและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ มีการแบ่งปัน ช่วยเหลือและมีพฤติกรรมการเอื้อเฟื้อ ตลอดจนการรู้จักการปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่ม
  • เด็กจะได้รับการพัฒนาทางด้านอารมณ์ กิจกรรมประกอบอาหารเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานและท้าทายการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ร่วมกิจกรรมและปฏิบัติการด้วยตนเอง การอด้วยความจดจ่อว่าเมื่อไรอาหารจะสุก
  • เด็กจะได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง เด็กบางคนอามีทัศนคติที่ไม่ดีกับการรับประทานผักบางชนิด การจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่เด็กได้ลงมือปรุงด้วยตนเองเป็นการสร้างทัศนคติในเชิงบวกและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้ เช่น ถ้าครูสังเกตว่ามีเด็กบางคนไม่ชอบรับประทานผักคะน้า ครูอาจจัดกิจกรรมประกอบอาหารประเภทผัดผักรวมและให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเตรียมผัก ล้างผัก หั่นผักและปฏิบัติการขั้นปรุงด้วยตัวเด็กเอง เด็กก็จะยอมรับในการรับประทานผักชนิดนั้นได้
  • สร้างความเชื่อมั่นในตนเองและสร้างความภาคภูมิใจให้เกิดกับเด็ก ในการประกอบอาหารในแต่ละครั้ง ครูเปิดโอกาสให้เด็กได้ปฏิบัติการประกอบอาหารด้วยตนเองเป็นกลุ่ม เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการปรุงอาหารทุกครั้ง ครูให้แรงเสริมอย่างสม่ำเสมอ เด็กจะเกิดความเชื่อมั่นในการทำกิจกรรมในครั้งต่อไปและจะพัฒนาไปสู่ความภาคภูมิใจในตนเองได้
  • เด็กจะได้รับการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น การประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา การที่เด็กได้หั่นผัก ตักน้ำตาลหรือเกลือใส่ลงในกระทะ เทเครื่องปรุงทั้งหมดลงในหม้อ การเทน้ำส้มลงไปในแก้ว การปั้นแป้งทำขนมบัวลอย กิจกรรมต่างๆ นี้เป็นเรื่องของการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยสร้างสุขนิสัย สุขอนามัย และโภชนาการที่ถูกต้องให้กับเด็ก การประกอบอาหารจะทำให้เด็กเรียนเกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์จากการบูรณาการการเรียนรู้ขณะปฏิบัติกิจกรรม การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และให้ครบ 5 หมู่ การรับประทานอาหารที่ถูกวิธี การใช้อุปกรณ์และมารยาทที่ควรปฏิบัติขณะรับประทานอาหาร การใช้ช้อน ส้อมและการจัดเก็บและทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ
  • ช่วยพัฒนาเจตจำนงภายในให้เกิดกับเด็ก การประกอบอาหารช่วยให้เด็กเรียนรู้พร้อมๆ กับการพัฒนาเจตจำนงของตน สำหรับเด็กแล้วการแปรเปลี่ยนจากเมล็ดข้าวแข็งๆ มาเป็นผงแป้งหรือเป็นน้ำ และท้ายที่สุดกลับกลายเป็นอาหารหรือขนมหลายรูปแบบ กล่าวได้ว่าเป็นกระบวนการที่น่าอัศจรรย์ใจ ชวนตื่นเต้น ด้วยเหตุนี้เด็กจึงใจจดใจจ่อ เรียนไปกับกระบวนการทำอาหารจนกลายมาเป็นอาหารให้เด็กรับประทาน และพัฒนาขึ้นมาเป็นพลังเจตจำนงภายในตัวเด็กในภายหลัง