16 SEBTEMBER 2013

16th.


Science Experiences Management for Early Childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา08:30-12:20น. กลุ่มเรียน101 เลขที่16



ความรู้ที่ได้รับ
          - เรียนกับอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
          - อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม กลุ่มละ 8-10 คน และแจกกระดาษให้กลุ่มละ 4 แผ่น ได้เรียนเกี่ยวกับการเขียนแผน การจัดประสบการณ์การทำอาหาร ดังนี้

การจัดประสบการณ์การทำอาหาร

 ราดหน้า

 วิธีการทำราดหน้า

 แผนการจัดประสบการณ์ มาทำราดหน้ากันเถอะ

ความรู้เพิ่มเติม

การจัดประสบการณ์การประกอบอาหาร (Cooking experience) หมายถึง การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมผ่านขั้นตอนและกระบวนการประกอบอาหารประเภทต่างๆ ที่เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ เกิดความคิดรวบยอดและพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ อย่างสมดุล จากการได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเรียนรู้ จนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเองการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ (Child centered) อีกทั้งยังปลูกฝังเด็กให้เด็กมีพฤติกรรมทางด้านสุขภาพ สุขอนามัย และโภชนาการที่ดี
การประกอบอาหาร
ความสำคัญของการจัดประสบการณ์ประกอบอาหาร
การเรียนรู้ของมนุษย์เรามีผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยเด็กจะต้องเป็นผู้กระทำให้เกิดขึ้นด้วยตนเอง และการเรียนรู้จะเป็นไปได้ดีถ้าเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้เคลื่อนไหว มีโอกาสได้คิดริเริ่มตามความต้องการและความสนใจของตนเอง รวมทั้งอยู่ในบรรยากาศที่เป็นอิสระ อบอุ่น และปลอดภัย ครูจึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก ต้องปรับเปลี่ยนจากบทบาทผู้ที่สั่งสอนด้วยชี้นำ บอกความรู้ให้เด็กมาเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวกแก่เด็กในด้านต่างๆ เพื่อให้เด็กได้ลงมือกระทำกิจกรรมด้วยตนเองจนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตนเอง หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เมื่อจบการศึกษาระดับปฐมวัยแล้ว เด็กจะบรรลุมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่กำหนดไว้ในจุดหมาย จำนวน 12 ข้อ ได้แก่
  • ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
  • กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
  • มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข
  • มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
  • ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
  • ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
  • รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
  • อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
  • ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
  • มีความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
  • มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
  • มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้
พัฒนาการทางด้านรางกายของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่
  • การเจริญเติบโตด้านกายภาพ (Physical Growth)
  • วุฒิภาวะ (Maturation)
  • ประสาทสัมผัสและการรับรู้ (Sensation and Perception)
  • การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใหญ่ (Gross - motor Development)
  • การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเล็ก (Fine - motor Development)
งานพัฒนาการทางด้านร่างกายทั้ง 5 ส่วนนี้ต้องสอดประสานรับกันและมีความงอกงามไปพร้อมๆ กัน มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันที่หล่อหลอมเป็นหน้าต่างของการเรียนรู้ การเติบโตทางด้านกายภาพเป็นงานพัฒนาการทางกายวิภาคที่มีผลมาจากภาวะโภชนาการและการออกกำลังกาย น้ำหนักและส่วนสูงที่เพิ่มพูนขึ้นจะเป็นการทำงานของวุฒิภาวะที่เป็นงานทางด้านสรีระวิทยาของพัฒนาการที่ส่งผลพฤติกรรมการเรียนรู้ในด้านต่างๆ การทำงานที่สอดประสานกันระหว่างการเติบโตทางด้านกายภาพและวุฒิภาวะส่งผลให้การทำงานของประสาทสัมผัสและการรับรู้ยิ่งมีความคมชัดและแม่นยำขึ้น และผลรวมของการเจริญเติบโตด้านกายภาพ วุฒิภาวะ ประสาทสัมผัสและการรับรู้ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในทำนองเดียวกันการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กก็ส่งเสริมให้การเติบโตทางกายภาพ ประสาทสัมผัส และการรับรู้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายให้เต็มตามศักยภาพของเด็กแต่ละคนนั้น จึงต้องตระหนักถึงพัฒนาการทางด้านร่างกายทั้ง 5 ส่วน ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายเป็นผลของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวุฒิภาวะ และการเรียนรู้ กล่าวคือ วุฒิภาวะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับการเรียนรู้ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งความสามารถบางอย่างอาจจะไม่เกิดขึ้นหรือเกิดความล้าช้าที่ควรจะเป็น พัฒนาการทางด้านร่างกายจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูงที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งคุณภาพในการใช้อวัยวะส่วนต่างๆ พัฒนาการทางด้านร่างกายเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องตลอดเวลา และเป็นไปตามลำดับขั้น ไม่มีการข้ามขั้น เช่น เด็กนั่งได้ก่อนที่จะเดินหรือวิ่งได้ เด็กสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายของแขน ขาได้ก่อนไปบังคับการใช้กล้ามเนื้อเล็ก แต่เด็กแต่ละคนจะมีอัตราของพัฒนาการทางด้านร่างกายที่แตกต่างกัน และพัฒนาการทางด้านร่างกายของบุคคลขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยต่อการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของบุคคล โภชนาการ การพักผ่อน โอกาสของการเรียนรู้ที่เหมาะสม และสิ่งอื่นๆ อีกมากมายล้วนมีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ได้ระบุว่า การส่งเสริมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นหัวใจสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ซึ่งอาหารทุกชนิดมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อช่วยเสริมสร้างซ่อมแซมร่างกายให้แข็งแรงในวัยเด็กให้มีสุขภาพที่ดี ครอบครัวไม่สิ้นเปลืองค่ารักษาพยาบาลและรัฐบาลไม่ต้องเสียงบประมาณไปกับการรักษาโรค อีกทั้งยังทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองที่ดี การมีสุขภาพดีนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ คือ อาหารดี ออกกำลังกายดี อารมณ์ดี อนามัยชุมนดี และการปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ สุขภาพและสมรรถภาพที่ดีเป็นผลมาจากการได้รับอาหารดีถูกหลักโภชนาการ ได้รับสารอาหารครบถ้วน และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย การบริโภคอาหารที่ดีมีคุณค่า เหมาะสมกับสภาพร่างกายในเด็กปฐมวัย ทำให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตแข็งแรง โครงสร้างทางด้านร่างกายได้สัดส่วนและมีภูมิต้านทานโรคภัยไข้เจ็บต่างๆสูง ทั้งยังช่วยซ่อมซมร่างกานส่วนที่สึกหรอ พัฒนาจิตใจ สมองให้พัฒนาอย่างเต็มที่ จากการได้รับการส่งเสริมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการตั้งแต่ระดับปฐมวัย
การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมนิสัยการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการมีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายโดยรวมให้มีการเจริญเติบโต แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย กิจกรรมที่ส่งเสริมด้านโภชนาการควรจัดผสมผสานในด้านอื่นๆ ด้วย เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาด้านความรู้ การปฏิบัติตนและกิจนิสัย กิจกรรมที่ควรจัด มีดังนี้
  • กิจกรรมการรับรู้ของประสาทสัมผัส และให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในเรื่องรูป รส กลิ่นและผิวสัมผัส
  • การบอกชื่ออาหาร อุปกรณ์ที่ใช้
  • ฝึกการใช้อุปกรณ์ที่ถูกวิธี
  • ฝึกการเลือกอาหารที่มีคุณค่า
  • ฝึกการปรุงอาหารง่ายๆ
  • ฝึกการใช้อุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร เช่น ช้อน ส้อม จาน
  • ฝึกการดูแลรักษาความสะอาดขณะรับประทาน
  • ฝึกการจัดเก็บอุปกรณ์
  • ฝึกการทำความสะอาดโต๊ะและอุปกรณ์
  • ฝึกมารยาทในการรับประทานอาหาร
  • ฝึกให้เด็กรับประทานอาหารที่มีคุณค่า
  • ฝึกให้เด็กบอกประโยชน์ของอาหาร
  • ฝึกการทำความสะอาดฟัน ปาก หลังรับประทานอาหาร
  • ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการรับประทานอาหาร
การประกอบอาหารเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เรียนรู้จากกระบวนการทำงานเริ่มตั้งแต่กระบวนการวางแผนจนไปถึงกระบวนการทำความสะอาดอุปกรณ์ และสถานที่ ประสบการณ์ที่ได้รับจากการประกอบอาหารจะทำให้เด็กได้รับความรู้ เกิดความรู้สึกประความสำเร็จ และเป็นการปลูกฝังลักษณะนิสัยในการรับประทานอาหารที่ติดตัวไปตลอดชีวิต