สรุปองค์ความรู้จากงานวิจัย

วิจัยเรื่อง : ผลการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย
ปริญญานิพนธ์ ของ ทิติลดา พิไลกุล

ความมุ่งหมายของการวิจัย :
1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกัน
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย

ความสำคัญของการวิจัย
ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย เพื่อนำไปเป็นแนวทางส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมแก่เด็กปฐมวัยจากการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของเด็กปฐมวัย

ขอบเขตของการวิจัย
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย ชาย หญิง อายุ 5 – 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตสวนหลวง สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 78 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ พฤติกรรมทางสังคม

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. เด็กปฐมวัย หมายถึง นักเรียนชาย - หญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 20 คน โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตสวนหลวง สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
2. การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ผสมผสานวิธีการสอนการเรียนการประเมินและการแนะแนวให้ควบคู่กลมกลืนเป็นกระบวนการเดียวกันในชั้นเรียน โดยเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ด้วยการให้เด็กเรียนรู้วิธีการวิจัย ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจ ได้ลงมือศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้ ความจริงตามความสนใจอยากรู้อยากเห็นและความถนัดของตน การเรียนรู้เด็กจะได้สร้างองค์ความรู้ พร้อมกับแก้ปัญหาและค้นพบสิ่งใหม่ๆ ซึ่งมีการวางแผนล่วงหน้าว่าจะศึกษาค้นคว้าอย่างไร มากน้อยเพียงใด จากแหล่งใด วิธีการอย่างไร จากนั้นลงมือดำเนินการศึกษาค้นคว้า สังเกต จดจำ บันทึก ข้อมูล สรุปความรู้ที่ได้ จัดทำผลงานความรู้และนำเสนอ รวมทั้งนำความรู้ที่ได้ไปสืบค้น และแสวงหาความรู้ต่อไป
3. พฤติกรรมทางสังคม หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกของเด็กที่แสดงถึงความรู้สึกที่ดี โดยการกระทำหรือคำพูด และเป็นที่ยอมรับของสังคม

 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
1. เด็กได้เรียนรู้ตามความสนใจและความถนัดของตน
2. เด็กได้ลงมือปฏิบัติและสรรค์สร้างความรู้ด้วยตนเอง
3. ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะ ดังนี้ ความคิดสร้างสรรค์ (คิดหลากหลาย คิดริเริ่ม ไม่เลียนแบบจินตนาการ) ทักษะการแก้ปัญหา (ตัดสินใจ แก้ไขข้อขัดแย้ง) กระบวนการเรียนรู้ (วางแผน ค้นคว้า ปฏิบัติทดลอง) มนุษย์สัมพันธ์ (ความร่วมมือ ทำงานกลุ่ม ช่วยเหลือ แบ่งปัน) การสื่อความหมาย (ถามคำถามโต้ตอบ แสดงความคิดเห็น) ความมีวินัย (รับผิดชอบต่องานตรงต่อเวลาซื่อสัตย์ รอคอย) ทักษะการสังเกต(สนใจ อยากรู้ ซักถาม) และผู้นำ (ผู้ริเริ่ม ผู้ให้ ผู้รับ)
4. เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ
5. เป็นเทคนิคการสอน การเรียน ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
6. เป็นเทคนิคการประเมินที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
7. ใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ เพื่อรู้จักเด็กมากขึ้น
8. ใช้เป็นข้อมูลในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู
9. เด็กได้ทำงานร่วมกับเพื่อน พ่อ แม่ และครู
10. เด็กได้วิพากษ์วิจารณ์ วิธีการผลงานทั้งของตนและคนอื่น
11. เด็กได้มีโอกาสนำเสนอผลงานที่ตนสนใจ ถนัดเพื่อใช้ในการประเมิ